การจัดการน้ำและมุมที่ไม่ค่อยเห็นของคลองชองเกซอน

--

เห็นวีดีโอการจัดการน้ำของ หน่วยงานจัดการน้ำของประเทศฝรั่งเศส แล้วน่าสนใจดีเลยแปะไว้ให้ดูกัน

สาระสำคัญในวีดีโอนี้ จากที่ดูคือ

  • ให้พื้นที่ในการวิ่งของน้ำ ถอยสถานที่ใกล้แม่น้ำออกไป ยิ่งพื้นที่การไหลมาก น้ำจะเคลื่อนที่ช้าลง ส่งผลกระทบน้อยลง และได้พื้นที่พักผ่อนของคน
  • ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ เชื่อมกับ Wetland หรือ พื้นที่ชุ่มน้ำ ช่วยประคอง ป้องกันพื้นที่ชุมชนได้ ถ้าไปกั้นเขื่อน น้ำจะไหลเร็วและแรงขึ้น ส่งผลกระทบจะตกกับพื้นที่ด้านล่าง ที่จะเตรียมตัวไม่ทัน
  • ท้องน้ำควรจะมีหินหรือกรวดช่วงป้องกันการชะล้าง ซึ่งถ้าดินเลน ไปตามกระแสน้ำที่ไหลเร็ว สารอาหารจะหายไป และ ส่งผลต่อการกัดเซาะตลิ่งอีกด้วย

ทีนี้อยากให้ไปดูในมุมของคลองชองเกซอนกันนิดนึงซึ่งปกติแล้วรูปแบบนี้

CR: http://www.sweetandtastytv.com/blog/11-things-to-do-at-cheonggyecheon-stream

แต่เมื่อใดก็ตามที่ฝนตกหนัก แน่นอนว่า อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย เพราะเรามักจะไม่เห็นภาพเท่าไหร่ แล้วเราจะนึกว่า มันเป็นแค่ คลองเพื่อความสวยงาม มันจะทำหน้าที่ระบายน้ำตามหน้าที่ที่ควรจะเป็น

CR: https://markjamesrussell.com/2013/07/04/sometimes-the-cheonggyecheon-really-is-a-river/
CR: https://markjamesrussell.com/2013/07/04/sometimes-the-cheonggyecheon-really-is-a-river/
CR: https://www.facebook.com/seoulfm/photos/its-raining-hard-in-seoul-today-cheonggyecheon/10154290470498454/

ถ้าใครสงสัยว่าทำไมน้ำมันถึงมากขนาดนั้น ทั้งๆ ที่มันน่าจะแค่ปั้มน้ำจากตรงน้ำตกที่อยู่ต้นทาง คือด้านข้างคลองตรงที่เป็นทางเดิน ทั้ง 2 ด้าน มันมีทางระบายน้ำจากบ้านเรือนอยู่ครับ ปกติ มันก็ไม่ล้นออกมาหรอก แต่ถ้าวันใดมันล้น มันก็จะออกมาที่คลอง

แล้วคลองนี้ก็จะทำหน้าที่ที่ควรจะทำของมัน คือ ช่วยระบายน้ำล้นไม่ให้บริเวณกรุงโซลน้ำท่วมนั่นเอง

ที่สำคัญคือ โครงสร้างของคลองเรามักจะเห็น ว่าโครงสร้างจะเป็นลักษณะ แบบนี้

ภาพตัดขวางคร่าวๆ ของคลองชองเกซอน

โดยในยามปกติ น้ำก็จะวิ่งประมาณแค่นั้น เพราะจะสามารถควบคุมประมาณน้ำและความเร็วในการไหล ไม่ให้ไหลเร็วเกินไป หรือช้าเกินไปได้ ถ้าไหลเร็วก็อาจจะแล้ง ถ้าไหลช้าในฤดูหนาวน้ำจะจับตัวเป็นน้ำแข็ง

แต่ถ้ามีเหตุการณ์น้ำท่วม การเพิ่มพื้นที่ให้มากขึ้น จะทำให้พื้นที่หน้าตัดของน้ำที่ไหล กว้างขึ้น ตรงนี้ก็ตามหลักวิทยาศาสตร์ครับว่า พื้นที่มากขึ้นความเร็วจะลดลง

และความเร็วที่ลดลงนี่เอง ทำให้น้ำลดความรุนแรงลงในการพังตลิ่ง

จุดสำคัญอีกจุดหนึ่งคือ ลักษณะการกั้นน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะก็นว่าน้ำ จะอยู่ต่ำกว่าพื้นที่ที่คนอาศัยอยู่ ซึ่งจะจัดการเรื่องแรงดันน้ำง่ายกว่า การยกคันกั้นน้ำสูงๆ

คลอง / แม่น้ำ กับคันกั้นมักจะเห็นอยู่ในเขตขุมชนบ้านเรา

ซึ่งตรงนี้อาจจะเป็นข้อได้เปรียบของหลายประเทศที่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลมาก เพราะ คลองหรือแม่น้ำตรงนั้น มันจะอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นถนนเป็นส่วนมาก

แต่อย่างกรุงเทพฯ ที่อยู่ปริ่มๆ ระดับน้ำทะเล มันก็อาจจะยากหน่อย จึงอาจจะต้องใช้คันกั้นน้ำบ้าง แต่มันก็ไม่มีเหตุให้บีบคลองให้แคบนะครับ

สำคัญที่สุด ในหลวงรัชกาลที่ 9 ก็เคยแนะนำว่า ต้องทำคลองให้กว้าง ไม่ใช่ขุดลึก…เพราะถ้าขุดลึก น้ำที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล จะออกไปไม่ได้…

ดังนั้นไม่ต้องสงสัยว่าส่วนตัว จะไม่ค่อยเห็นด้วยกับการ Renovate คลองช่องนนทรีสักเท่าไหร่ เพราะมันมีการบีบคลองลง และมีการขุดคลองให้ลึกนั่นเอง

จริงๆวิธีการพัฒนาแม่น้ำให้มีพื้นที่น้ำล้น ที่สร้างประโยชน์ในเชิงการพักผ่อนของชุมชนนี่มีหลายที่มาก อย่างญี่ปุ่นเอง ริมแม่น้ำหลายที่ก็เป็นแบบนั้นและส่วนตัวก็ชอบไปเดินเวลาที่ไปเที่ยวอยู่บ้าง เช่น อย่างริมแม่น้ำ Kamo ที่เกียวโต นั่นเป็นที่วิ่งในงาน Kyoto Marathon กันเลยทีเดียว

แม่น้ำ Kitakami, Morioka (CR: Wikipedia)
แม่น้ำ Kamo, Kyoto (CR: Mainichi.jp)

ส่วนตัวก็คาดหวังว่า บ้านเรามีอะไรแบบนี้ได้ก็ดีครับ แต่อย่างไรก็ตามโดยพื้นฐานควรจะสนันสนุนทั้งเรื่อง Recreation และ หน้าที่หลักที่แม้จะเกิดน้อยกว่าคือเป็นทางเดินของน้ำที่ดี โดยเฉพาะยามต้องฝากผีฝากไข้

--

--

Teerayut Hiruntaraporn
Teerayut Hiruntaraporn

No responses yet