ถ้า Product ต้องมีทุกอย่าง เพื่อที่จะบอกว่ามันดี มันอาจจะไม่ใช่นวัตกรรมก็ได้
เรื่องราวนี้เป็นสรุปมุมมองที่น่าจะสนใจ จากคุณ Paul Buchheit หลายคนไม่รู้จักชื่อนี้ แต่สิ่งที่เขาทำหลายคนจะรู้จักและมีผู้ใช้ระดับหลักล้าน นั่นคือ gmail นั่นเอง
เรื่องราวนี้เกิดขึ้นหลังจากที่ Steve Job ได้ทำการเปิดตัว iPad ตัวแรก ในวันที่ 27 มกราคม 2010 แล้วสำนักข่าวก็วิจารณ์ซะอย่างหมูอย่างหมา บ้างก็ว่า iPad ตายแน่นอน (ปีนี้ 2020 ก็น่าจะพอเห็นแล้วว่าปากกาหักกันเป็นแถบ) ทางคุณ Paul แกอาจจะทนไม่ได้เลยเขียน Blog มาลบล้างความเชื่อบางอย่างครับ
สิ่งที่ iPad โดนก็เหมือนกับที่ iPod โดนวิจารณ์ในช่วงแรกๆ ไม่ต่างกันเท่าไหร่ โดย iPod ในตอนนั้นก็จะโดนประมาณว่า ใช้ wifi ไม่ได้ ความจุก็น้อยกว่าเครื่องเล่นเจ้าอื่น เช่น Creative Nomad (ซึ่งเลิกทำไปในปี 2004)
ปัญหาของ iPod และ iPad จะมีลักษณะกลุ่มเดียวกัน คือขาดฟีเจอร์ ที่มีในโปรดักซ์ที่ไม่ประสบความสำเร็จ (แอบแรง)
แนวความคิดที่ไม่ควรใช้ในการออกแบบ Product
โดยทั่วไป คนเรามักจะคิดว่า ผู้ซื้อจะเปรียบเทียบของที่จะซื้อ เราก็มักจะเปรียบเทียบกับ Feature หรือ Specification แล้วก็ดูว่า อันนั้นให้ฟีเจอร์เยอะกว่า ในราคาที่คุ้มกว่า เราก็เลือกอันนั้น
ซึ่งตรงนี้คือ Mindset ที่ว่า More Feature = Better
แต่ในกรณีศึกษาทางการตลาดบางที ก็พบว่าเรื่องนี้ไม่ค่อยจะเป็นจริงนัก เพราะในบางครั้ง เราก็เลือกของที่ฟีเจอร์น้อยกว่า แถมราคาแพงกว่า เช่น บางคนชอบเข้าร้านอาหารญี่ปุ่นประเภทโอมากะเสะ ซึ่งไม่มีตัวเลือกใดๆ หรือ การเลือกกระเป๋าหรูซึ่งอาจจะมีฟีเจอร์น้อยกว่ากระเป๋าใบละ 100
และนั่นทำให้คนที่ใช้แนวคิดแบบนี้ ตกม้าตายในการทำ Product Design
แล้วเราควรจะคิดอย่างไรในการทำ Product Design
คุณ Paul ให้คำตอบว่า
เลือก 3 คุณลักษณะหรือฟีเจอร์ แล้วทำให้มันถูกทางที่สุด แล้วลืมเรื่องอื่นซะ
โดยทั้ง 3 คุณลักษณะนั้นต้องแสดงให้เห็นถึง Fundamental Essence และ Value ของ Product (ถ้าเป็นคำไทยก็อาจจะเป็นตัวตนและคุณค่าของผลิตภัณฑ์)
เช่น ตัว iPod เอง จะประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ได้แก่
- เล็กจนใส่เข้ากระเป๋าได้
- ความจุเยอะคนใส่เพลงฟังได้เป็นหลายๆ ชั่วโมง
- Sync กับ Mac ได้ง่ายๆ
โดยสามเรื่องนี้จะเป็นเรื่องที่ถูกคิดอย่างเนียนและละเอียดมาก ในขณะที่เรื่องอื่นๆ (ในตอนนั้น) อาจจะเป็น Noise ซึ่งอาจจะไม่ใส่หรือใส่แต่ไม่ได้ให้กับมันมากนัก
เช่นเดียวกันกับ Gmail ก็มีคุณลักษณะดังนี้
- เร็ว
- เก็บอีเมลทุกอย่าง (ในช่วงเวลานั้นโควต้าพื้นที่มาตรฐานจะอยู่ที่ประมาณ 4MB)
- ใช้ interface โดยมีพื้นฐานมาจาก ระบบ conversation และ search
ฟีเจอร์อื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาเมื่อกี้ ไม่เป็น minimal ก็ไม่มีเลย เช่น ไม่มี rich text editor, ขณะที่ contact ก็ใช้เวลาทำวันสองวันแบบง่ายๆ
จากการที่ได้โฟกัสในฟีเจอร์สำคัญไม่กี่ตัว จะทำให้หาความสำคัญและคุณค่าที่แท้จริงของ Product ได้
ซึ่งถ้าโปรดักส์ต้องพึ่ง Feature อื่นๆ ในการที่จะทำให้บอกว่ามันดี อาจจะเป็นไปได้ว่า ตัว Core Value จริงๆ มันไม่ได้แข็งแรง หรือไม่ได้เป็นนวัตกรรมขนาดนั้นก็เป็นได้
ถึงตรงนี้อยากให้นึกถึง กฎ 80:20 ว่า เราควรจะเอาแรงส่วนใหญ่ไปทำให้ Key Feature ทำงานได้ดีเลิศและประทับใจผู้ใช้ มากกว่าที่จะไปลงกับทุกอย่างให้กลายเป็นงานธรรมดา
ส่งท้าย
- Product ที่ดี มีการโฟกัสที่ Feature หลักที่ดีมากๆ ที่ส่งคุณค่าและตัวตนของ Product ไปถึงผู้ใช้
- ระวังเรื่องวิธีคิด More Feature = Better เพราะจะทำให้ออกแบบผิดที่ผิดทาง
ข้อควรระวัง คุณ Paul กล่าวเดือนไว้ว่า กรณีนี้สำหรับ Consumer Product ซึ่งเข้าถึง End User โดยตรง ในกรณีที่เป็นระบบที่มีฝ่ายจัดซื้อที่อัด Feature อย่างเดียว เขาแนะนำเลยว่า อย่าเสียเวลากับ Simplicity กับ Usability เยอะมาก ปั้มอย่างเดียว (2020 อาจจะต้องเปลี่ยนวิธีคิดบ้างเล็กน้อย)
ที่มา
http://paulbuchheit.blogspot.com/2010/02/if-your-product-is-great-it-doesnt-need.html