บริษัทและการลดความเหลื่อมล้ำของสังคม
ในหนังสือ Marketing 5.0 มีการพูดถึงเรื่องของความแบ่งขั้วของสังคม ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของฐานะทางการเงิน แนวความคิด ไลฟ์สไตล์ หรือแม้กระทั่งตลาดที่สุดท้ายเราจะสามารถ Position ตัวเองได้เหลือเพียงแค่ 2 แนวทางคือ Cost-Leadership กับ Customer Experience
และท้ายที่สุด Kotler จะเน้นว่าบริษัทควรที่มีส่วนช่วงในการสร้างความยั่งยืนให้กับสังคม
โดยเหตุผลหนึ่ง คือเรื่องของโอกาสที่มากขึ้นในการทำตลาดต่อไป
ถ้าตลาดในที่สุดเราจะเหลือเพียง 2 ส่วน นั่นแหละว่า Demand ก็จะถูกจำกัดเช่นเดียวกัน และในที่สุดเมื่อคู่แข่งมากขึ้น แต่ไม่สามารถสร้าง Demand ได้เพราะสินค้ามีราคาสูงเกินกว่าที่จะซื้อมาได้ สุดท้ายตลาดก็จะไม่มีที่ให้โตต่อ กลายเป็นการต่อสู้ด้านราคาแทน ซึ่งสุดท้ายก็จะเสียประโยชน์กันทั้งหมด
แต่ถ้าเราสามารถกลับเข้ามาช่วยเหลือสังคมได้ผลักดันผู้คนให้มีรายได้มากขึ้น คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ก็จะมีโอกาสที่จะไม่กำลังซื้อที่มากขึ้นได้
ประเทศที่เราเห็นตัวอย่างได้ชัดเจนมากประเทศหนึ่งคือประเทศจีน แต่ก่อนนั้นคนจีนก็ไม่ได้มีเงินมากมาย หลายจุดในประเทศมีความยากจน แต่รัฐบาลจีนก็สามารถผลักดันและพัฒนาให้หลายครอบครัวในจีนมีหลุดพ้นฐานะความยากจน ส่งผลให้อัตราการบริโภคมีมากขึ้น ทำให้เศรษฐกิจมีตลาดที่ใหญ่ขึ้นจนเป็นที่น่าดึงดูด Supply กันต่อมา
ในส่วนของประเทศไทยนั้น ส่วนตัวพึ่งได้ฟังเรื่องราวของคุณโย่ที่อยู่ที่เงินติดล้อ เล่าเรื่องที่เขาได้ไปทดสอบตลาดที่อนุสาวรีย์ชัย และการออกแบบ Product ให้ลูกค้าทราบว่าต้นทุนที่ใช้ในการผ่อนแบบที่ใช้อยู่ที่เป็นนอกระบบ เสียเงินเยอะแค่ไหน แล้วถ้ามาอยู่ในระบบจะเสียแค่ไหน ก็เป็นหนึ่งมุมมองที่ทำให้ ลูกค้าที่เคยอยู่นอกระบบต้องเอาเงินที่หาได้ไปจ่ายแต่ดอกเบี้ยอย่างเดียว มีโอกาสที่จะลืมตาอ้าปากจากการกลับเข้าสู่ระบบที่ดอกเบี้ยรวมถูกกว่ามาก
แต่จุดที่น่าสนใจที่คุณโย่เล่าให้ฟังคือ โอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนด้วยดิจิตอล ทั้งนี้คนที่จะขอแหล่งเงินทุนส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นคนทำงาน หาเช้ากินค่ำ การที่เขาจะต้องเสียเวลา ไม่ทำงาน แล้วต้องไปธนาคารที่เขาไม่แน่ใจว่าจะได้เงินกลับมาหรือเปล่า ก็เป็นเรื่องที่ทำให้ลูกค้าไม่สะดวกที่จะหยุดงานมาธนาคาร
ช่องทางดิจิตอลจึงมาช่วยเหลือ ให้ลูกค้าสามารถมาคุยและขอสินเชื่อได้ ในที่ๆ ทำงานหรือ นอกเวลาทำงานได้ ตรงนี้เป็นเรื่องราวที่ทำให้เห็นประโยชน์ของดิจิตอลอย่างมากมาย
อีกเคสที่ไม่พูดถึงไม่ได้เพราะกำลังดราม่าอยู่แต่น่าจะจบแล้วคือ เคสของคุณพิมรี่พายที่ไปทำไฟในสลัมคลองเตย
ใครจะว่ามันเป็นโฆษณาอะไรก็แล้วแต่ แต่การที่พื้นที่มีไฟส่องสว่าง จะทำให้เกิดโอกาสมากมาย ผู้คนอาจจะมาพบกัน หรืออาจจะมีการซื้อขายเกินขึ้น นอกจากนี้ความสว่างก็มักจะช่วยลดอาชญากรรมได้อย่างน่าอัศจรรย์ ซึ่งทำให้ภาพรวมก็จะทำให้คุณภาพชีวิตของชุมชนดีขึ้น
เรื่องราวเหล่านี้ ทำให้ Brand เป็นที่น่าชื่นชม และในระยะยาว ผู้คนที่ได้เคยรับการสนับสนุน มีโอกาสที่จะกลับไปสนับสนุน Brand ทำให้เกิดวงจรตลาดที่ใหญ่ขึ้นได้