ภารกิจหาบอลลูนสีแดง

ในปี 2009 DARPA ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้จัดงาน The Red Balloon Challenge ขึ้นโดยเป็นการจำลองการจัดการปัญหายากๆ เช่น การค้นหาผู้ก่อการร้าย หรือโรคระบาด โดยกฏกติการคือ ทาง DARPA จะปล่อยบอลลูน มั่วๆ 10 ลูกทั่วอเมริกา แล้วใครที่หาบอลลูนได้ครบและแม่นยำที่สุดเป็นกลุ่มแรกจะเป็นผู้ชนะ ได้รับรางวัลเป็นเงิน 40000$

CR: https://www.darpa.mil/about-us/timeline/network-challenge

ซึ่งในการที่จะหาบอลลูนให้ครบทั้ง 10 ลูกในพื้นที่ 3.1 ล้านตารางไมล์ของอเมริกา ในมุมมองของนักวิเคราะห์ถือเป็นภารกิจที่เป็นไปไม่ได้เลยทีเดียว

มีหลายทีมที่ตอบรับการท้าทายนี้ และได้พยายามเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยในช่วงนั้นเช่น การนำเอา Search Engine มาค้นหาภาพจากดาวเทียมเพื่อติดตามบอลลูนเหล่านี้ หรือ Operเป็นต้น มาเตรียมตัวเพื่อใช้ในการค้นหาเจ้าบอลลูนเหล่านี้

อย่างไรก็ตาม ทีมที่ชนะในรอบนี้กลับเป็นทีมที่มีเวลาเตรียมตัวน้อยที่สุดและใช้อุปกรณ์ไม่ได้ทันสมัยมากอย่าง MIT Media Labs ที่สำคัญคือ มีเวลาเตรียมตัวไม่ถึง 4 วัน

ครั้งนี้เลยมาดูว่าทีม MIT Media Labs มีความคิดที่แตกต่างอย่างไรกับคนอื่น

เนื่องจากว่าทีมงานของ MIT Media Lab นั้นไม่ได้มีเวลาเตรียมตัวเยอะ เขาจึงเลือกใช้วิธีการที่ไม่เหมือนคนอื่น

โดยเขาได้สร้างเว็บไซต์ขึ้นมา โดยภายในเว็บไซต์มีเนื้อหาประมาณว่า

จะให้ personal link กับทุกคน และทุกคนสามารถเชิญเพื่อนมาร่วมได้ และถ้าเพื่อนชนะคุณก็ชนะด้วย

โดยจะให้รางวัลกับผู้เจอบอลลูน 2000$ ต่อบอลลูน สำหรับคนแรกที่มีพิกัดที่ถูกต้อง นอกจากนี้เพื่อนที่ invite จะได้รับเงิน 1000$ → 500$ → 250$ → ไปเรื่อยๆ

จากที่เห็นคือ หลักการของทีมนี้คือ บอกคนอื่นๆว่า ถ้าเจอ ช่วยผมหน่อย

เมื่อทีมงานได้ทำการเปิดเว็บไซต์ขึ้นมาในวันก่อนหน้าวันสมัคร 2 วัน ก็มีผู้คนมาสมัครมากมาย

และเมื่อการแข่งขันเริ่มขึ้นในวันที่ 5 ธันวาคม ทีมงานของ MIT Media Lab สามารถหาบอลลูนได้ครบสิบลูก ด้วยเวลา

8 ชั่วโมง 52 นาที 41 วินาที

จากการประมาณเบื้องต้นว่าน่าจะครบกันได้ในสัปดาห์ โดยได้ความช่วยเหลือจากคน 4,665 คน ทั่วอเมริกา

สิ่งที่ ทำให้ทีมของ MIT Media Lab มีความแตกต่างจากทีมอื่นๆ คือ

ขณะที่ทีมคือคือ การแข่งขันที่ถ้าเข้ามาแล้วอาจจะชนะ นั่นคือมีคนที่ได้และ ไม่ได้

ทีมนี้กลับแสดงให้เห็นว่า ถ้ามาร่วมกับเรา เราจะชนะด้วยกัน จะมากจะน้อยก็แล้วแต่

จุดสำคัญอีกจุดหนึ่งคือ

การที่ทีมงานได้เปิดเผยสิ่งที่เรียกว่า ความอ่อนแอหรือข้อบกพร่อง​ (Vulnerability) ออกมา ทำให้ตัวเขาเองเปิดรับความช่วยเหลือ และให้ความไว้วางใจผู้อื่น

เมื่อใดที่เราต้องการสร้างความร่วมมือ vulnerability จะกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นทางจิตวิทยาขึ้นมา

ดังนั้น ความอ่อนแอ จุดบกพร่อง บางครั้ง ก็ไม่ได้ มีแต่มุมลบเพียงด้านเดียว แต่มันก็มีมุมที่ทำให้เกิดความเชื่อใจ และความร่วมมือกันได้ด้วยเช่นกัน

ที่มา

The Culture Code, Daniel Coyle

--

--