รูปแบบของ Runway

Teerayut Hiruntaraporn
2 min readApr 13, 2022

--

ด้วยความบังเอิญที่มี Topic จาก Quora มันขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องของ Runway แล้วดูน่าสนใจดีเลย เขียนเก็บไว้หน่อย

CR: Donegal Airport, Ireland

คุณสมบัติทั่วไป

รันเวย์จะถูกต้องถูกออกแบบโครงสร้างและใช้วัสดุที่ดี ในภาพที่เรามักจะเห็นกันคือ รันเวย์แต่ละที่ใช้กันยาวนานมาก แกนของโครงสร้างจะต้องดี และสามารถทำการปรับปรุงซ่อมแซมได้ง่าย เช่น การจัดการยางล้อเครื่องบินหรือการลาดพื้นใหม่

แต่จุดสำคัญคือการรับน้ำหนัก ซึ่งพื้นรันเวย์นั้น ต้องสามารถรับนำ้หนักที่เครื่องบินได้มาก เช่นกรณีของAirbus A380 จะมีน้ำหนักที่มากที่สุดตอน Take off ถึง 560,000 กิโลกรัมเลยทีเดียว และตอน Landing ก็จะต้องรับน้ำหนักที่ล้อกระทบพื้นมากกว่าปกติด้วย

เรื่องที่น่าสนใจคือ แม้รันเวย์ จะถูกออกแบบมาให้รับน้ำหนักมากขนาดนั้น แต่พื้นที่รอบๆ อาจจะไม่ บริเวณพื้นที่ไม่ได้เป็น Runway หรือ Taxiway อาจจะไม่สามารถรับน้ำหนักเครื่องได้ ถ้าเครื่องปลิวหรือหลุดออกไป ด้วยน้ำหนักอาจจะทำให้จมพื้นไปได้

รูปแบบของรันเวย์

ในการออกแบบรันเวย์นั้น มีสิ่งที่สนใจอยู่ 2 เรื่อง เรื่องแรกคือปริมาณ Traffic อีกเรื่องคือกระแสลม

ปกติ ถ้าสนามบินคนไม่ได้เยอะ รันเวย์เดี่ยวก็จะเห็นกันเป็นปกติ แต่ถ้า Traffic เริ่มเยอะ ก็จำเป็นที่จะต้องมี รันเวย์มากกว่า 1 ซึ่งตรงนี้ก็ต้องมาดูจากสถานการณ์แล้วว่าควรจะทำแบบไหนดี

เช่น ในกรณีที่ทิศทางลมค่อนข้างสม่ำเสมอ ไม่มั่วมาก ก็จะใช้การวางรันเวย์ขนาดกัน ซึ่งจะเห็นได้บ่อยๆ เช่น สุวรรณภูมิ , นาริตะ, ชางงี หรืออินชอน

แน่นอนว่าอันนี้น่าจะเป็นกรณีที่ดีที่สุด สามารถ utilize รันเวย์ได้เต็มที่

Incheon International Airport (Google Map)

อย่างไรก็ตามถ้ากระแสลมเริ่มไม่แน่นอน การทำรันเวย์แบบขนาน ก็อาจจะทำให้การเอาเครื่องบินขึ้นลง ยากมากๆ จึงมีอีกแนวทางเรียกว่า Open V

Open V Runway คือ รันเวย์ที่ปลายของรันเวย์ด้านหนึ่งจะใกล้กับรันเวย์อีกข้างแล้วทำมุมแยกกัน ที่ต้องใช้มุมแตกต่าง เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ Crosswind จะสามารถใช้งาน จะมีรันเวย์ที่สามารถใช้งานได้ง่ายสักอันนึงนั่นเอง

โดยในยามปกติ ก็จะสามารถใช้งานได้ 2 รันเวย์ ถ้าทิศทางเป็น การวิ่งออกจากหัวที่ติดกัน จะมีประสิทธิภาพในการส่งเครื่องขึ้นได้ดีกว่า การวิ่งกลับเข้ามา

แต่ถ้าเมื่อเกิด Crosswind ขึ้น ก็จะเลือกใช้ runway ที่ได้รับผลกระทบน้อยกว่านั่นเอง

ตัวอย่างเช่นสนามบิน ใน Boston , USA และ Edmonton ,Canada

Edmonton Airport, Canada

สุดท้าย ก็จะเป็นอีกลักษณะที่เห็นกันเยอะเช่นเดียวกัน คือ Intersecting Runway

คือลักษณะที่รันเวย์ 2 อันมาตัดกัน ตรงนี้ประสิทธิภาพของการจัดเครื่องขึ้นลง จะขึ้นกับตำแหน่งที่ตัดกันด้วย ถ้าใกล้กับจุดเริ่มหรือจุดจบ จะดี

เช่นเดียวกับ Open V คือ ในสถานการณ์ปกติ ก็สามารถใช้ 2 รันเวย์ได้ แต่กรณีนี้อาจจะมีการประสานงานเพิ่มเติมเพื่อป้องกันเครื่องบินชนกันที่ตำแหน่งที่ตัดกัน

แต่ถ้ามีเหตุ Crosswind ก็เลือกใช้ ตัวใดตัวหนึ่ง

ตัวอย่างของกรณีนี้ก็คือ San Francisco International Airport หรือ Midway International Airport ที่ Chicago

Chicago Midway International Airport , IL

อย่างไรก็ตาม ถ้าพื้นที่เยอะๆ เราก็มักจะได้เห็นการใช้หลายๆ ท่ามารวมๆ กัน ซึ่งตรงนี้เราก็มักจะเห็นในสนามบินขนาดใหญ่ เช่น

Chicago O’Hare International Airport มี 8 Runway ซึ่งจะเห็นครบทั้ง Parallel, OpenV, และ Intersect

Chicago O’Hare International Airport

Amsterdam Airport Schiphol มี 6 runway ซึ่งก็ครบเช่นเดียวกัน

Amsterdam Airport Schiphol

อย่างไรก็ตาม ก็จะมีข้อสังเกตเล็กน้อยว่า แม้จะมี ทิศทางการวิ่งมากกว่าหนึ่ง แต่ ก็มักจะไม่มีหลายทิศทาง ส่วนใหญ่ ก็มักจะมีแค่ 2 ทิศทาง แล้วก็ทำขนานกัน มากกว่าที่จะวิ่งกระจัดกระจาย ไปคนละทิศคนละทาง ทั้งนี้อาจจะเพราะคำนวณแล้วว่า ทำแค่ 2 ทิศก็พอ Optimized แล้ว อะไรประมาณนี้

อ้างอิง

  1. https://www.quora.com/What-s-the-best-airport-runway-design-and-why

--

--

Teerayut Hiruntaraporn
Teerayut Hiruntaraporn

No responses yet