วิกฤติการเงินปี 2008 ในมุมมองนักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม
ในปี 2008 มีวิกฤติการเงินในสหรัฐอเมริกา ที่หลายคนรู้จักกันในชื่อของ Hamburger Crisis มีบทวิเคราะห์มากมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ สำหรับส่วนนี้จะเป็นมุมของเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม ซึ่งสะท้อนเอาความจุดอ่อนของมนุษย์ มาอธิบาย ซึ่งนักวิชาการด้านนี้สามารถคาดการณ์ปัญหานี้ได้ล่วงหน้า เลยมาสรุปมุมมองให้อ่านกัน
เรื่องนี้สรุปมาจากหนังสือ สะกดความคิด สะกิดพฤติกรรม NUDGE
ข้อมูลเบื้องต้นของวิกฤตนี้
วิกฤตนี้เกิดจากการลงทุนในสินเชื่อซับไพรม์ ซึ่งเป็นสินเชื่อสำหรับผู้ที่มีเครดิตต่ำโดยได้รับอัตราดอกเบี้ยปกติ
โดยทั่วไปแล้ว ในการกู้ยืมเงิน ธนาคารก็จะกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้กับผู้กู้ ซึ่งผู้กู้ที่มีเครดิตดี ก็จะมีความเสี่ยงต่ำ ก็จะมีดอกเบี้ยต่ำ ขณะที่ผู้ที่เครดิตไม่ดีก็จะได้อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าปกติ
เมื่อเปิดโอกาสให้คนที่มีเครดิต Score ต่ำกู้ได้ด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติ ก็ทำให้มีการกู้มากขึ้น นอกจากนี้ในช่วงนั้นยังมีการเพิ่มขึ้นของราคาบ้าน ทำให้ผู้คนยอมเสี่ยงที่จะกู้มาเพื่อเก็งกำไร
อย่างไรก็ตาม ราคาที่พุ่งสูงก็ชะลอตัวในช่วงปี 2008 ทำให้ผู้กู้หลายคนเริ่มผิดนัดชำระหนี้ ส่งผลต่อสถาบันการเงิน ทำให้ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง ส่งผลต่อเศรษฐกิจมากมาย
ปัจจัย 3 อย่างเชิงพฤติกรรม
นักเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมได้นำเอา ปัจจัย 3 อย่างมาอธิบายที่มาที่ไปของปัญหานี้ โดยประกอบด้วย
- ความซับซ้อน
- ความเย้ายวน
- อิทธิพลทางสังคาม
ความซับซ้อน
มีความซับซ้อนในเรื่องของเงื่อนไข และลูกเล่นในกระบวนการสินเชื่อ เช่น
ในมุมของผู้กู้ เดิมเงื่อนไขสินเชื่อบ้านจะมีความเรียบง่าย เช่น คิดดอกเบี้ยในอัตราคงที่ 30 ปี แต่ในปัจจุบันมีลูกเล่นมากขึ้น เช่น ช่วงแรกผ่อนดอกเบี้ยต่ำ ช่วงหลังดอกเบี้ยสูง เป็นต้น
เมื่อมีรายละเอียดมากขึ้น ผู้กู้ย่อมประสบปัญหาในการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย หรือบางครั้ง อาจจะหลงไปกับ ยอดการชำระที่ต่ำในช่วงแรกๆ ของการกู้
และแม้กระทั่งเจ้าหน้าทีผู้ให้กู้หรือผู้เชี่ยวชาญ ก็อาจจะมีปัญหาในการเปรียบเทียบเพราะความซับซ้อนมากขึ้น
นำมาสู่สาเหตุที่สำคัญคือ
ผู้กู้จำนวนมากไม่เข้าใจเงื่อนไขของสินเชื่อที่ตัวเองเลือก
ขณะเดียวกันในมุมของผู้ให้กู้ จากเดิมที่แค่เอาสินเชื่อมาเก็บตลอดอายุสัญญา แต่ในช่วงหลังสินเชื่ออาจจะถูกเอาไปใช้ในการเป็นหลักทรัพย์บางอย่าง หรือ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
ความเย้ายวน
แต่ก่อนครอบครัวที่จะกู้ซื้อบ้าน จะพยายามผ่อนให้หมดก่อน โดยไม่ได้มีการ Refinance เพื่อประหยัดเงิน เพราะด้วยความขี้เกียจ
อย่างไรก็ตาม ในช่วงนั้นมี การพัฒนากระบวนการ Refinance ให้ดีขึ้น ทำง่ายขึ้น และ มีเทคนิคที่เรียกว่า “Cash-out” Refinance คือการ Refinance หนี้เดิม และ เพิ่มเงินเข้าไปในกระเป๋าอีกด้วย
ด้วย อัตราดอกเบี้ยที่ตำ่กว่าปกติ แนวโน้มราคาบ้านที่ดูสูง และพัฒนาการของการ Refinance ที่ดีขึ้นเร็วขึ้น ก็ง่ายต่อการดึงดูดคนให้ทำ Refinance มากขึ้น ซึ่งตรงนี้จะทำให้เกิดหนี้เพิ่มในระบบ
แต่สุดท้ายเมื่อ ราคาบ้านตกต่ำ และอัตราดอกเบี้ยปรับสูงขึ้น ทุกอย่างก็สิ้นสุด
อิทธิพลทางสังคม
หลายคนเชื่อว่าราคาบ้านย่อมสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามกาลเวลา
อย่างไรก็ตามในปี 1997–2004 เป็นช่วงที่ราคาขึ้นอย่างผิดปกติ ทั้งๆที่ก่อนหน้านั้นราคาจะค่อนข้างนิ่ง
โดยในการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดฟองสบู่ คือ ผู้คนได้รับอิทธิพลกับความเชื่อที่แพร่ระบาดในสังคม ซึ่งความเชื่อนั้นก่อให้เกิดการคาดการณ์ที่ไม่อยู่ในฐานความเป็นจริง
ซึ่งความเชื่อนี้เกิดจาก ราคาบ้านที่พุ่งสูงอย่างเห็นได้ชัดในระยะหลัง แม้ว่ามันจะผิดปกติ มุมมองในแง่ดีที่ระบาดไปทั่ว นอกจากนี้การประโคมข่าวของสื่อต่างๆ ก็ยิ่งทำให้ดูน่าเชื่อถืออีกด้วย
สรุป
แน่นอนว่า ความโลภและการคอรัปชั่นจะเป็นส่วนหนึ่งของการเกิดวิกฤติฯ แต่ในมุมของพฤติกรรมนั้น สิ่งที่มีบทบาทสำคัญที่สุดคือจุดอ่อนของมนุษย์ ดังนั้น จึงควรที่จะปรับแก้เพื่อให้ปัจจัยทั้ง3 มีผลกระทบให้น้อยที่สุด เช่น
- เพิ่มความโปร่งใสและการเปิดเผยข้อมูล
- แสดงความเสี่ยงที่แท้จริงของผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย
- จัดการมาตรฐานสินเชื่อ
- จัดทำที่กลางที่แสดงสถิติต่างๆ และ update อย่างสม่ำเสมอ
- ตั้งค่าตัวเลือกสินเชื่อเบื้องต้นเป็นแบบเข้าใจง่าย