สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำโจทย์เลข ม. 2 ในตอนทำงาน
เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา มีเพื่อนท่านหนึ่งส่งโจทย์วิชาคณิตศาสตร์มาให้ช่วยคิด โดยโจทย์จะมีข้อความประมาณว่า
ก็ระหว่างทำไปก็มีเรื่องที่คิดได้ประมาณนี้ครับ
- ทุกโจทย์ประกอบด้วยสมมติฐานเบื้องต้น
เอาจริงๆ ตอนที่อ่านโจทย์ตอนแรก ก็งงหลายเรื่อง อย่างบางเรื่องเช่น ตำแหน่งของขอบหน้าต่างบ้าน กับตำแหน่งของบ้าน ซึ่งเอาจริงๆก็ไม่ได้มีความสัมพันธ์อะไรที่ชัดเจนในโจทย์ แต่เราก็ต้องมาคิดไปเอง ซึ่งในชีวิตจริงเราก็มีการใช้สมมติฐานหรือ Context มากมาย โดยเฉพาะในการทำงานจะมีการบอกอย่างชัดเจนเป็นส่วนมาก ซึ่งช่วยลดความซับซ้อนในการแก้ปัญหาได้ดี ซึ่งในโจทย์นี้ก็มีสมมติฐาน(ที่คิดเอง)อยู่ว่า
จุดที่เขาใช้วัดระยะบ้าน ตัดฉากกับตำแหน่งของขอบหน้าต่างพอดี ไม่มียืดออกหรือหดเข้า
การหมุนบันไดไปมาระหว่างบ้าน 2 หลัง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงระยะและไม่เบ้ซ้ายขวาใดๆ
2. กระบวนการแก้ปัญหาเริ่มจากทางปกติ แล้วค่อยต่อยอดไปเรื่อยๆ
ตอนแรกสุดก็วาดรูปประกอบโจทย์ไว้ประมาณนี้แน่นอนว่าสัดส่วนไม่ได้เรื่อง
พอเห็นแบบนี้ ด้วยความที่ไม่ได้ทำโจทย์มานาน ก็คิดว่ามีงานที่ทำคือ
- หา A
- หา B
- หาความยาวเส้น ??
เริ่มมาก็ตั้งสูตร ปีทากอรัส 2 อัน แล้วก็พบว่า สมการมันยุบยับมาก เมื่อดูไปดูมาก็พบเรื่องที่ imply มาได้เรื่องนึงคือ
ถ้าพลิกบันไดไปมา แสดงว่าด้านที่เป็นบันได จะต้องเท่ากันเสมอ
นั่นแปลว่าเราจะสามารถเอา ผลบวกของด้านกำลังสองของข้างมุมฉากของทั้งสองสามเหลี่ยมมาเทียบเท่ากันได้
(2x)²+48² = (5x+13)² + 14²
สิ่งที่ค้นพบหลังจากแก้สมการนี้คือ สามเหลี่ยมทั้งสองนี้เป็นสามเหลี่ยมที่มีขนาดเท่ากันนี่เอง เพียงแต่พลิกกันคนละด้าน (Spoil มาก)
ทีนี้เราจะรู้ด้านสองข้างของสามเหลี่ยมสีแดงที่ต้องการหาแล้ว เราก็มาหาด้านที่เป็นคำถาม แต่คิดยังไงก็คิดไม่ออก
เลยพยายามไปหามุมของสามเหลี่ยมแล้วจะใช้ Sin Cos Tan ช่วย
แล้วก็พึ่งจำได้ว่า… มันเป็นสามเหลี่ยมมุมฉากเหมือนกันนี่หว่า
ถ้าอย่างนั้นมุมของสามเหลี่ยมที่ต้องการจะหาคือ มุมฉาก นั่นเอง
เมื่อเรารู้ว่าสามเหลี่ยมที่ต้องการหาเป็นสามเหลี่ยมหน้าจั่วมุมฉาก เราก็สามารถหาความยาวเส้นสุดท้ายที่เราต้องการได้ บิงโก!!
ทั้งหมดคือเส้นทางการคิดที่เกิดขึ้นในการแก้โจทย์ข้อนี้ของผมครับ
โดยในวัยมัธยมด้วยการเรียนที่เข้มข้น มันคงจะมี Match Pattern ที่เด็กๆ จะถูก Wired In ทำให้สามารถมาแก้ปัญหาได้รวดเร็ว แต่พอเราอยู่ในวัยทำงาน มีหลายเรื่องต้องวุ่นวาย ความเฉพาะเจาะจงก็น้อยลงเป็นธรรมดา ตรงนี้กระบวนการคิดที่เป็นระบบจะพยุงให้เราพอจะคลำทางต่อไปได้ครับ ซึ่งข้อเสียอย่างเดียวคือ มันจะช้าว่าเด็กๆ คิดแน่นอน
แต่จุดที่สำคัญจุดหนึ่งคือ เราไม่มี Deadline Bound ซึ่งพอไม่มีสิ่งนี้ก็จะทำให้มีเวลาที่จะลองผิดลองถูกได้ ตรงนี้เป็นจุดสำคัญคือ เด็กหลายคนทำไม่ได้อาจจะเพียงพอมีความซีเรียสกับ เวลาที่จำกัดก็เป็นได้ ซึ่งไม่ควรจะให้เกิดขึ้นในกรณีที่เป็นแบบฝึกหัด
อย่างที่บริษัทเอง เวลาที่ให้ปัญหาในการฝึกพนักงานใหม่ ก็จะบอกว่าต้องการให้ลองแก้ปัญหาแบบคิดได้ยาวๆ หรือ จำกัดเวลา ทั้งสองแบบส่งผลต่อพัฒนาการคนละแบบ ต้องเลือกใช้ดีๆครับ
3. Some details can be googled , stick with your problem solving process
สิ่งสุดท้ายซึ่งอาจจะขัดแย้งกับระบบการศึกษาพอสมควรคือ ที่พูดๆ มาในข้างบน ผมไม่พูดถึงสูตรอะไรมากมาย เพราะสูตรต่างๆ ผมก็ Google มาหมด เพราะจำไม่ได้แล้ว อย่างมากก็พอจะมีเค้าโครงรางๆ ว่า มันมี ดังนั้นในชีวิตจริงๆ อย่าเอาเรื่องจุ๋มจิ๋มอย่าง ใช้เครื่องคิดเลข จำสูตรไม่ได้ มาเป็นประเด็นหลักครับ
ตัวอย่างเช่น เมื่อจะแก้ตัวประกอบ สมการกำลังสอง อาจารย์สายบูชิโดหลายท่านมักจะให้เด็กแตกตัวประกอบด้วยตัวเอง ไม่ต้องใช้สูตร ไม่งั้นมันไม่เท่ แต่ถ้าดูในภาพใหญ่มันเป็นการเสียเวลาในเรื่องเล็กหน่ะครับ ตัวผมเองก็บอกตรงๆว่าให้มองเอาก็ขี้เกียจแล้ว เลยเอาสูตรหากินมาใช้คือ
หรือการที่ต้องมาหาตัวประกอบของ 179,776 สิ่งที่ต้องทำคือ ไป Google แล้วพิมพ์
prime factor 179,776
มันก็จะแสดงข้อมูลออกมา
ในปัจจุบัน อะไรที่เป็น detail เสียเวลาในอดีต สามารถหาได้รวดเร็วขึ้นเยอะมาก อย่าเสียเวลากับพวกนี้มากครับ เอาเวลาไปหาเส้นทาง ลองความเป็นไปได้เพิ่มเติมจะได้ประโยชน์กว่าครับ
สรุป
- ทุกโจทย์ประกอบด้วยสมมติฐานเบื้องต้น
- กระบวนการแก้ปัญหาเริ่มจากทางปกติ แล้วค่อยต่อยอดไปเรื่อยๆ
- Some details can be googled , stick with your problem solving process