เรื่องที่ได้เรียนรู้จาก Start-Up
เป็น version สรุป อย่างเร็ว จาก Series Startup ซึ่งได้ข้อคิดที่ดีและน่าจะสามารถเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
1. จงเป็นมืออาชีพ
สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ฮันจีพยองแสดงได้ชัดเจนมาก เป็นบทพูดที่แสดงให้เห็นความรับผิดชอบของเจ้าตัวได้ดี โดยเขาได้พูดประโยคประมาณนี้อยู่ 2 ครั้ง และส่วนตัวค่อนข้างชอบแต่ก็ต้องยอมรับว่ามันเป็นประโยคที่คนธรรมดาพูดได้ยากพอสมควร นั่นคือ
ในฐานะผู้ชาย ผมไม่ชอบ แต่ในฐานะผู้นักลงทุน นี่น่าจะเป็นสิ่งที่ดีทีสุด
2. ประสบการณ์บางครั้งก็เลวร้าย แต่มันจะผ่านไปเราจะกลับมาแข็งแกร่งขึ้น
เหตุการณ์มาจากความผิดพลาดในการเซ็นสัญญากับ 2STO นั่นเอง ซึ่งผลคือ บริษัทแตก ดัลมีกับฮาราโดนเขี่ยออก แล้ว 3 คนไปอเมริกา
แต่เมื่อเวลาผ่านไป ความสัมพันธ์ยังคงอยู่และ สามารถกลับมารวมตัวกันได้อีกครั้ง
ในละครจะแสดงให้เห็นถือพัฒนาการของตัวละครในทีม ทุกคน ที่ดู Upgrade ขึ้นทั้งในเรื่องของฐานะการเงิน (มีรถไม่ต้องง้อหัวหน้าฮัน), ความเก่ง , บุคคลิกภาพ
และเมื่อเจอปัญหาใหม่ เขาก็มีประสบการณ์ที่แข็งแกร่งขึ้น ในการแก้ปัญหาเหล่านั้น ไม่ล้มเหมือน 3 ปีที่แล้ว
เรื่องนี้ส่วนตัวเขียนไว้ใน Blog ที่ผ่านมา แบบยาวๆแล้ว
3. คำวิจารณ์ที่เป็นลบ แม้จะไม่ชอบก็เป็นสิ่งที่มีค่า
ไม่มีใครชอบคำพูดลบ แต่ถ้าเอามาเก็บแล้วพิจารณาในภายหลัง ก็น่าจะใจเย็นลง และน่าจะเห็นอะไรได้มากขึ้น ในบทละคร เราจะเห็น Bias ที่ทำให้ไม่ฟังกันจนเกิดปัญหาตามมา เช่น
- ความแค้นที่มีต่อพี่ชาย ทำให้อยากเอาชนะ จนไม่ฟัง
- ความรัก คู่แข่ง ทำให้ไม่ฟัง
- ได้รับคำวิจารย์ลบบ่อยๆ ทำให้ไม่ฟัง
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือ เรารับฟังคำวิจารณ์ หรือความเห็นได้ แต่สุดท้ายเราต้องเป็นคนตัดสินใจ สิ่งนี้ตัว ซอดัลมีจะแสดงให้ดูในหลายๆครั้ง ซึ่งจะเห็นการตัดสินใจที่ไปตามหัวหน้าฮัน และขัดแย้งกับหัวหน้าฮัน ด้วยเช่นเดียวกัน
และในอีกมุมหนึ่ง วิธีการพูดในการวิจารณ์ก็เป็นสิ่งสำคัญ ผู้วิจารณ์ก็ต้องพัฒนาแนวทงการวิจารณ์ที่เหมาะสมกับผู้รับด้วย ซึ่งตัวหัวหน้าฮันในช่วงหลังก็วิจารณ์ตรงแต่นิ่มกว่าเดิม
4. ความเป็นเพื่อนกับการทำธุรกิจเป็นคนละเรื่อง
เรื่องนี้ถ้าใครได้อ่านหนังสือประวัติของนักธุรกิจ การแบ่งสัดส่วนผู้ถือหุ้นน่าจะเป็นเรื่องแรกที่ต้องจัดการให้ดีเลย
มันต้องมีคนที่มีติดการตัดสินใจสูงสุดอย่างที่หัวหน้าฮันบอกแหละ ยกตัวอย่างเช่น กรณีของไนกี้ ในตอนแรก ก็จะให้หุ้นของ Phil Knight ที่ 51% ขณะที่ Bowerman ที่เป็น Co-Founder ได้ 49% ถ้าให้เท่ากัน เมื่อเจอเหตุการณ์ที่สองคนเห็นไม่ตรงกันและไม่มีข้อสรุป บริษัทจะเดินต่อไม่ได้เลย
และเรื่องการแบ่งสัดส่วนหุ้น เป็นเรื่องซีเรียส คิดตอนช่วงฮันนีมูนอย่างเดียวไม่ได้ หลายคนก็มักจะพูดเหมือนกับยงซานนั่นแหละ ว่าเราเห็นตรงกันตลอด ไปไหนไปด้วยกัน แต่สุดท้ายอนาคตมันก็ไม่แน่นอน ยังไม่ทันคุยเสร็จก็ทะเลาะกันแล้ว
สุดท้ายจึงต้องแยกความสัมพันธ์ของเพื่อนกับ การดำเนินธุรกิจออกจากกัน ไม่ต่างจากเงินตัวเองแยกจากเงินบริษัทนั่นเอง
5. มีแผนสำรองเสมอ ระวังความเสี่ยงที่แม้จะมีโอกาสน้อย
ในเรื่องจะมีเหตุการณ์อยู่ 2 เหตุการณ์ ที่ทำให้ระลึกถึงในเรื่องแผนสำรองนี้
อย่างแรกที่ชัดเจนคือเรื่องของ Malware ซึ่งก็จะเห็นว่ามันส่งผลพอสมควร ซึ่งในกรณีของบทละครก็ทำให้เห็นแค่เสียเวลากับพลังงานในการกู้ แต่มันก็มีผลต่อเนื่องไปถึงการ Discredit อีกด้วย แต่ในชีวิตจริง ก็อาจจะหนักอย่างที่เราเห็นจากเคสโรงพยาบาล ซึ่งทำให้การทำงานไม่สะดวกอย่างที่ควรจะเป็น ในช่วงเวลานึงเลยทีเดียว
อีกเรื่องคือการคุยธุรกิจ ซึ่งถึงขนาดต้องมีการอัดเทปเก็บ แล้วดันต้องเอามาใช้เพื่อ blackmail แม้ในละครจะดูสุดโต่งไปหน่อย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่เกิด แต่อยากให้โฟกัสในเรื่องของแผนในการเจรจาต่อรองแบบปกติมากกว่า ว่าถ้าการเจรจาพูดคุย ไม่ได้ตามแผนแรก เราจะมีท่าสำรองอะไรไหม
6. ในโลกธุรกิจ ไม่ได้มีแค่การทำงานร่วมกัน
ซีรีส์เรื่องนี้ทำตอนนี้ได้น่าสนใจ มี Dynamic ที่ดูเข้าถึงได้ดี เช่น การที่วอนอินแจ ไปพูดคุยเพื่อสร้าง Connection เพิ่มในตอน Pitch ครั้งแรก หรือแม้กระทั่งเหตุการณ์สายดาร์กเช่นความพยายาม Blackmail , ทำข่าวเสียหาย ก็อาจจะเกิดขึ้นได้
เราอาจจะไม่ได้เจออะไรประมาณนี้มากนัก แต่การรับรู้เกี่ยวกับพวกนี้ไม่เสียหาย แล้วก็ควรที่จะไม่ประมาทด้วย สิ่งสำคัญคือเราควรรู้เพื่อที่จะอยู่อย่างไม่เสียเปรียบเขา
7. ทำอะไรมีเป้าหมายมันจะวิ่งสนุกหน่อยนึง
ต้องยอมรับว่าด้วยความที่บทส่งด้วย เราก็คงจะเห็นเป้าหมายของทางนุนกิล ค่อนข้างเยอะ ว่า เป็นความพยายามจะช่วยคุณยายที่สายตาเริ่มแย่ลงให้ดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
ขณะที่การรวมหัวกัน Plan เรื่องของรถขับเคลื่อนอัตโนมัติก็เป็นเหตุการณ์ที่สนุกเช่นเดียวกัน
ส่วนตัวยอมรับว่าบรรยากาศที่เห็นในละคร ตอนที่จินตนาการเรื่องรถขับเคลื่อนอัตโนมัติ เป็นภาพที่อยากเห็นในตอนทำงานเช่นเดียวกัน เพราะดูทุกคนสนุก และกล้าที่จะแสดงความเห็นอะไรมากมาย
8. อธิษฐานไปก่อน แล้วทำให้ได้พอ
เป็นประโยคในช่วงตอนใกล้จบของละคร ที่ดูแปลกๆ
ยอมรับว่าในมุมของคนเรียนสายวิทย์มา เป็นคำพูดที่เข้าใจยากที่สุด
แต่ส่วนตัวก็ชอบนะ เพราะมันเน้นน้ำหนักของผลลัพธ์ว่า เกิดจากการกระทำของเจ้าตัว
การอธิษฐานเป็นส่วนสนับสนุน
ช่วยให้เรามั่นใจขึ้น
แต่สุดท้ายมันคือตัวเราจะสร้างโอกาส จะออกมาเปลี่ยนแปลง ด้วยตัวเองไหม