ใดๆ ในโลกล้วนเป็น Tail Event
เรื่องนี้มาจาก The Psychology of Money บทที่ 6 ซึ่งจะบ่งบอกพฤติกรรมที่เป็นธรรมชาติของโลก แต่ระบบการศึกษากลับให้เราเรียนรู้ในทางตรงข้าม ทำให้เรากลับต้องมาปวดหัวกับโลกที่เป็นไป
ก่อนที่จะเข้าเรื่อง ถ้าใครไม่รู้จักคำว่า Tail ในบทนี้ อาจจะต้องคุยกันนิดนึง
ถ้าเราเอาผลลัพธ์ กับ ความเป็นไปได้ มาทำเป็นกราฟความถี่ ในทางทฤษฎีเราก็มักจะได้กราฟที่อยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า Normal Distribution
โดยบริเวณตรงกลางมักก็จะเป็นบริเวณที่มีโอกาสเกิดเยอะที่สุด ได้ return ที่ยอมรับได้ ซึ่งถือเป็นมาตราฐานปกติ
อย่างไรก็ตามที่ปลายของกราฟทั้ง 2 ข้าง เราจะเห็นว่า มีโอกาสน้อยกว่าบริเวณตรงกลางมาก แต่ return ของมันนั้น มีความสุดโต่งไม่ว่าจะเป็นทางบวกหรือทางลบ บริเวณนั้นคือส่วนที่เรียกว่า Tail นั่นเอง
ในโลกของการเงิน จะมีสิ่งที่เรียกว่า Tail Risk ซึ่งหมายถึง บริเวณที่จะได้ Return สูง หรือต่ำกว่า บริเวณปกติ มากกว่า 3 Standard Deviation ขึ้นไป
ถ้าเป็นในเชิงบวก เราอาจจะยกตัวอย่างในเรื่องของการ ถูกล็อตเตอร์รี่ หรือวางหุ้นถูกตัว ลงทุนในบริษัทที่สุดท้ายกลายเป็นยูนิคอร์นขึ้นมา
ขณะที่ในเชิงลบ ในบางครั้ง ถ้ามัน impact ระดับตลาดล่ม เราก็จะเรียกมันว่า Black Swan เช่นเหตุการณ์ ต้มยำกุ้ง , Hamburger Crisis หรือแม้กระทั่ง Covid เอง
สิ่งที่น่าสังเกตคือ ในเหตุการณ์ที่ดี ถ้าเราได้แจ็กพ็อต Return ที่ได้รับ มักจะชดเชยสิ่งที่เราเสียกันไปมากมายในหลายๆ ครั้ง
และถ้าสมมติว่าเราเปรียบเทียบสัดส่วนระหว่างบริเวณที่เป็น Right Tail กับส่วนที่เหลือ เราก็จะพบว่า
โอกาสที่เราจะ Fail หรือ เสมอตัว จะมากกว่า
โอกาสที่เราจะชนะเสมอ
ในหนังสือ จะยกตัวอย่างของคนที่เก็บสะสมภาพศิลปะไว้หลายรูป เป็นเวลานานๆ ซึ่งตอนแรกๆ ก็ไม่ได้รายได้อะไรมากมาย จนกระทั่ง ช่วงประมาณ 1990–2000 ซึ่งเขาสามารถสร้างรายได้ในฐานะ Dealer ภาพศิลปะได้
หรือตัวของ Walt Disney เอง บริษัท Studio แรกก็ล้มละลาย หลังจากนั้น พยายามปั้นฟิล์มมา 400 เรื่อง ก็ยังไม่ได้มีชื่อเสียง จนกระทั่งมีเรื่องของ Snow White
ถ้าใกล้ยุคปัจจุบันมาหน่อย ก็น่าจะเป็นเรื่องของ JK Rowling ผู้เขียน Harry Porter ที่ก่อนหน้านี้ ก็ทำอย่างอื่นมาก่อน จนกระทั่งมาเขียนเรื่อง Harry Porter หลังเขียนเสร็จก็พยายามส่งให้หลายสำนักพิมพ์ แต่ส่วนใหญ่ก็ปฏิเสธ จนกระทั่งมีสำนักพิมพ์หนึ่งที่ตอบรับ ทำให้ Harry Porter ได้เกิดจนถึงปัจจุบัน
ในเมืองไทย นึกถึงเรื่องของ ดร. แสนสุข เจ้าของ Smooth-e และ Dentiste’ ซึ่งเคยเล่าไว้ใน The Standard ว่า ก่อนหน้า Smooth-E ก็ทำ Product มาหลายตัว ซึ่งก็ลุ่มๆ ดอนๆ มา
แม้กระทั่งโมเดลการเงินบางอย่าง หรือบางองค์กรก็นำแนวคิดนี้ไปใช้งาน
เช่น Index Fund อย่าง Set50 ก็ซื้อหุ้นที่มีมูลค่าตลาดสูงสุด 50 อันดับแรก หรือ ETF เอง บางที ถ้าเราไปไล่แกะหุ้นรายตัวที่เขาลงไว้ อาจจะเจอว่าส่วนใหญ่ return ปานกลางหรือไม่ค่อยดี แต่จะมีไม่กี่ตัว ที่ดีแล้วมันดีมากพอที่จะเอาชนะพวกที่เป็นส่วนใหญ่ได้ ซึ่งในหนังสือก็จะบอกว่าตัวที่ดึงราคา ก็จะมีแค่ 7% เท่านั้นของทั้งหมด
หรือธุรกิจของ Venture Capital ซึ่งเป็นการลงทุนบริษัท ก็จะซื้อหุ้นบริษัทเป็นตะกร้า สถิติที่น่าสนใจของ VC คือ
- 65% ของธุรกิจที่ลงทุนเสียเงินทั้งหมด
- มี 2.5% ของธุรกิจที่ลงทุน ได้กำไร 10–20 เท่า
- มี 1% ของธุรกิจที่ลงทุน ได้กำไรมากกว่า 20 เท่า
- และ 0.5% ของธุรกิจที่ลงทุน ได้กำไรมากกว่า 50 เท่า
หรือการลงทุนของ Warren Buffet ที่เราเห็นเขาสำเร็จ ข้อมูลที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ เขาได้มาจากหุ้น 10–20 ตัว จากการลงทุนหุ้น 300–400 ตัว
ถึงตรงนี้เราจะเห็นว่า Tail Event จะเป็นตัวขับเคลื่อนหลายๆ อย่างทั้งในธุรกิจ หรือการเงิน หรือการลงทุน รวมถึงเรื่องอื่นๆด้วย
ซึ่งถ้าเราเข้าในในเรื่องของ Tail Event เราจะเข้าใจในธรรมชาติหลายๆเรื่องเช่น
นักลงทุนที่เลือกหุ้นเก่งๆ มีโอกาสเลือกถูกได้ครึ่งต่อครึ่ง
นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จมาก ก็อาจะมี Product ได้แผนการที่ work ครึ่งต่อครึ่ง
หรือถ้าเป็นนักลงทุน ก็จะมีปีที่ได้มากกว่าคนอื่น แต่ก็ยังน้อยกว่าปีที่เสีย
รวมถึงถ้าเป็นคนทำงาน กว่าจะได้เจอบริษัทที่ดีก็น่าจะเข้าๆ ออกๆกันหลายรอบ…
ตัวอย่างที่น่าสนใจคือ นักบาสเกตบอลในตำนานอย่าง ไมเคิล จอร์แดน มีสถิติการยิง Field Goal อยู่ที่ 49% overall ขณะที่ สถิติการยิง 3 แต้มอยู่ที่ 32% ซึ่งนั่นหมายถึง เขายิงพลาดมากกว่าครับ แต่เขายิงเยอะจนประสบความสำเร็จ ซึ่งเขาก็พูดถึงเรื่องการประสบความสำเร็จของเขาด้วยอย่างนี้ครับ
I’ve missed more than 9000 shots in my career. I’ve lost almost 300 games. 26 times, I’ve been trusted to take the game winning shot and missed. I’ve failed over and over and over again in my life. And that is why I succeed.
โดยส่วนตัว นอกเหนือจากเรื่องการเงิน บทนี้สอนอะไรได้หลายอย่าง
อย่างแรกคือ Failure มันเป็นเรื่องปกติ ถ้าเราเข้าใจมัน ดำเนินพฤติกรรมได้ปกติ ไม่เหมือนคนที่ตกใจหรือเสียใจกับความ Failure จะมีโอกาสที่ดีกว่า
Your success as an investor will be determined by how you respond to punctuated moments of terror, not the years spent on cruise control
และ เมื่อ Failure เป็นเรื่องปกติ มันไม่มีประเด็นเลยว่าเราจะได้หรือเสียกี่ครั้ง แต่สิ่งที่สำคัญคือ ได้แค่ไหน เสียแค่ไหน ซึ่งเราอาจจะแพ้ไปครึ่งนึง แต่ก็ยังประสบความสำเร็จได้อยู่
It’s not whether you’re right or wrong, but how much money you make when you’re right and how much you lose when you’re wrong.
เรื่องน่าเศร้าคือการศึกษาสอนเรา ให้เศร้ากับความล้มเหลวมากเกินไป ก็หวังว่าใครที่แวะมาอ่านจะสามารถหลุดจากความล้มเหลวแล้วเดินต่อไปหาสิ่งที่หวังได้ครับ