11 เรื่องเข้าใจผิดเกี่ยวกับการตัดสินใจที่
เรื่องนี้เอามาจากบทความจาก HBR เรื่อง 11 Myths About Decision-Making ของ Cheryl Stauss Einhorn วันที่ 20 เมษายน 2021
โดยในบทความนี้ผู้แต่งจะพูดถึงเรื่อง 11 ที่คนเชื่อมากๆ แต่ความเชื่อเหล่านี้ก็จะมีผลกระทบต่อความสามารถในการตัดสินใจของเรา โดยมีดังนี้
1. การตัดสินใจที่รวดเร็วทันทีเป็นการแสดงถึงความมีประสิทธิภาพ
คนหลายคนมีความเชื่อว่า การเข้าไปตัดสินใจในทันทีเป็นการกระทำที่มีประสิทธิภาพ แต่การมีความประสิทธิภาพที่ควรจะเป็นคือ การเข้าใจถึงปัญหาหรือความต้องการว่าเรากำลังแก้ปัญหาอะไรหรือต้องการอะไร
การตัดสินใจทันทีอาจจะได้เพียงตัดสินใจเร็ว และอาจจะส่งผลลบในภายหลังได้
2. ยุ่งมากจนไม่มีเวลาตัดสินใจ
คำกล่าวที่จะได้ยินบ่อยในเรื่องนี้คือ การไม่ตัดสินใจคือการตัดสินใจอย่างหนึ่ง
ผู้เขียนแนะนำให้ยอมสละเวลาเมื่อมาสร้าง Quality Time ซึ่งจะทำให้การตัดสินใจดีขึ้น จะได้ไม่ต้องเสียเวลากลับมาดูกันอีกรอบ
3. เราต้องการแก้ปัญหาที่อยู่ตรงหน้าเท่านั้น
ลักษณะนี้เป็นเหมือนกับการเจอปัญหาก็แก้หน้างาน ไปเรื่อยๆ ซึ่งมันจะเป็นเหมือนกับการไม่เห็นภาพรวมของปัญหา ซึ่งสาเหตุของปัญหามักจะซ่อนอยู่ใน context บางอย่าง ถ้าเราโฟกัสปัญหาแคบเกินไป เราอาจจะไม่เห็นปัญหาที่แท้จริง เราก็จะแก้ปัญหาที่ผิดไปเรื่อยๆ
4. เราสามารถตัดสินใจเองคนเดียวได้ โดยไม่ต้องไปยุ่งกับคนอื่น
เรื่องนี้ดูคล้ายๆกับข้อที่แล้ว คือการตัดสินใจในเรื่องบางอย่างอาจจะส่งผลกระทบกับหลายคน การไม่สนใจผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ก็อาจจะนำพาปัญหาใหม่มาได้เช่นเดียวกัน
5. เราตัดสินใจถูกแน่ๆ เดี๋ยวหาข้อมูลและความเห็นคนอื่นมาสนับสนุนก่อน
สิ่งนี้มีชื่อเรียกว่า Confirmation Bias มีเหตุการณ์หลายเหตการณ์ ที่เป็นโศกนาฏกรรม ที่เกิดจากเรื่องนี้ เช่น การระเบิดของกระสวยอวกาศชาแลนเจอร์ หรือวิกฤต subprime ปัญหาของทั้งหมดคือ การไม่สนใจในข้อมูลที่โต้แย้ง แต่สนใจในข้อมูลที่สนับสนุนความเชื่อของตัวเอง ซึ่งอาจจะอยู่ในกลุ่มที่มีความเชื่อเหมือนกัน
สิ่งที่สำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นี้คือ เราต้องพยายามที่จะหาข้อมูลมาโต้แย้งตัวเอง
6. เชื่อในสัญชาตญาณหรือเซนซ์
เคสนี้ดูน่าจะเป็นเคสที่ขัดแย้งกับผู้นำบางท่าน เพราะบางท่านก็บอกว่าสุดท้ายอาจจะต้องใช้สัญชาตญาณในการตัดสินใจด้วย
แต่ในที่นี้ จะหมายถึงการใช้สัญชาตญาณโดยไม่ดูอะไรเลย ซึ่งในบางครั้ง เราอาจจะมีความทรงจำที่ไบแอส หรือคลาดเคลื่อน
ดังนั้นจากจากสัญชาตญาณแล้ว จึงควรจะเปิดพื้นที่ให้ข้อมูลอื่นมาช่วยในการตัดสินใจด้วย
7. การตัดสินใจมีกระบวนการเป็นเส้นตรง
บางคนเชื่อว่าการตัดสินใจเป็นกระบวนการตรงๆ คิดปัญหา — หาข้อมูล — ตัดสินใจ แต่อันที่จริง มันเป็นการกระบวนการที่เป็นวงกลม
กล่าวคือ ในกระบวนการตัดสินใจ มันอาจจะกลับไปกลับมา โดยในการย้อนกลับของกระบวนการนั้น เราจะได้รับ Feedback เพื่อเอาข้อมูลนั้นมาช่วยในการปรับปรุงการตัดสินใจของเราให้ดีขึ้นได้
8. การตัดสินใจสามารถทำได้ด้วยการคิดในใจ
ในการตัดสินใจที่เป็นเรื่องเล็ก ก็ยังคงสามารถที่จะคิดในใจได้
แต่ถ้าเป็นเรื่องใหญ่ๆ ที่ประกอบด้วยการตัดสินใจย่อยๆ แล้วต้องการประมวลความคิดไปๆมาๆอีก อาจจะทำให้ลืมหรือต้องไปคิดกันใหม่ได้
ข้อควรแนะนำเวลาตัดสินใจคือ ต้องจดไว้ครับ
ข้อดีอีกอย่างของการจดการตัดสินใจคือ เราสามารถเอามาวิเคราะห์ต่อได้ และนำไปพัฒนาจุดบกพร่องในการตัดสินใจได้อีก
9. ฉันมีข้อมูลทุกอย่างที่ใช้ในการตัดสินใจแล้ว
ถ้าใครรู้สึกว่าข้อมูลเพียงพอแล้ว ก็ไม่ใช่สิ่งที่ผิดอะไร แต่ทางผู้เขียนก็แนะนำเพิ่มว่า ลองทำ research เพิ่ม หรือ Challenge สมมติฐานเพิ่มสักหน่อย อาจจะมีอะไรน่าสนใจเพิ่มขึ้นก็เป็นได้
10. การตัดสินใจของเราเป็นเหตุเป็นผลอยู่แล้ว
เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องที่เข้าใจยาก แต่มีการวิจัยเกี่ยวกับจิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมหลายเรื่อง ที่ได้บทสรุปว่า พฤติกรรมการตัดสินใจมันไม่ได้เป็นเหตุเป็นผลสักเท่าไหร่ ซึ่งมาจากที่ว่าคนเราจะมีอคติจากประสบการณ์ในอดีตและความรู้สึก
11. การตัดสินใจมีทางที่ถูกต้องทางเดียว
แท้จริงแล้วการตัดสินใจมีหลายผลลัพธ์ แม้กระทั่งเราต้องการผลลัพธ์สุดท้ายให้เหมือนกัน มันก็มีหลายเส้นทางที่สามารถเลือกได้
ทางผู้แต่งได้แนะนำแนวทางที่จะทำให้การตัดสินใจทำได้ดีขึ้น ก็คือ
การหยุดหรือลดความเร็ว
ซึ่งแนวทางนี้จะทำให้เราได้หยุดคิดและมองเห็นภาพรวมได้ดีขึ้น
เขาเปรียบเทียบวิธีการนี้ว่า Cheetah Pause ซึ่งก็มาจากเสือชีต้าร์ที่เคยเล่าไปเมื่อวานนี้
ผู้แต่งก็ได้แนะนำให้ตอบคำถามต่อไปนี้ในระหว่างที่หยุดคิดด้วย
- มีความเชื่อตัวไหนใน 11 ข้อนี้ ที่เรากำลังใช้อยู่ในการตัดสินใจครั้งนี้หรือไม่
- การตัดสินใจนี้จะพาเราไปถึงเป้าหมายในชีวิตหรือไม่
- ความรู้สึกที่เกี่ยวพันกับการตัดสินใจครั้งนี้ มาจากสิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้หรือ คิดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต
- จะมีข้อมูลอะไรภายนอกที่ช่วยในการตัดสินใจครั้งนี้ให้ดีขึ้นได้บ้าง
- เราจะเข้าใจการรับรู้และมุมมองของผู้อื่นที่จะได้รับผลกระทบต่อการตัดสินใจนี้ได้อย่างไร
ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ครับ ใครสนใจในรายละเอียดสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่