Designer ในมุมของ Don Norman
พอดีได้มีโอกาสไปนั่งเรียนคอร์ส Design for the 21st Century ของลุง Don Norman ปูชนียบุคคลท่านหนึ่งในเรื่องของ Human-Computer Interaction เลยเอาสรุปบางส่วนในบทแรกมาบันทึกไว้ครับ
มุมของ Design ที่เปลี่ยนไป
ลุงแกบอกว่าถ้าเป็น Design ในลักษณะดั้งเดิม สิ่งสำคัญที่เริ่มต้นคือการทำของที่มหัศจรรย์ หรือสร้างประสบการณ์ที่มหัศจรรย์ (Wonderful Object, Wonderful Experience) ซึ่งอาจจะเป็นหน้าตา สัมผัส หรืออะไรที่ มีความสวยงาม น่าดึงดูด น่าหลงไหล
แต่ Design ในมุมมองปัจจุบันจะเปลี่ยนไป เป็นรูปแบบหรือวิธีคิด ที่จะมาแก้ปัญหาอะไรบางอย่าง ซึ่งตัวลุงแกก็บอกว่า จริงๆมันก็ไม่ใช่ของใหม่อะไรหรอก
แล้ว Designer ในมุมของลุงเป็นยังไง
อีกนัยยะหนึ่งคือ Designer ฝึกอะไรมา ลุงก็บอกว่า
- Designer ไม่มี content เช่น ไม่รู้การออกแบบโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ไม่รู้การออกแบบรถ
- Designer เรียนรู้เทคนิคของ Problem Solving
- Designer เรียนรู้เทคนิคในการทำส่ิงที่เรียกว่า Problem Defining หรือการนิยามปัญหา
ซึ่งการที่ตัว Designer เองไม่มี Content จึงมีสิ่งที่ลุงแกเน้นคือ
Designer จะไม่ทำงานคนเดียว ต้องมี Domain Expert ด้วย
การมาของ Solution
แล้วถ้าอย่างนั้นเราจะทำ Solution ได้อย่างไร ลุงแกกล่าวว่า
Solution มาจากคนตรงนั้น
คนที่ต้องอยู่กับปัญหานั้น หรือคนที่จะต้องใช้ผลของการออกแบบจัดการปัญหานั้นๆ
เพราะเขาเชื่อว่า ในที่ที่มีปัญหานั้น มีคนมีความสามารถมากมาย พวกเขารู้บริบท สภาพแวดล้อม ปัจจัยต่างๆ
เพียงแต่เขาอาจจะมีข้อจำกัดบางอย่าง เช่น การที่ไม่สามารถมองเห็นปัญหาในภาพรวม หรือปัญหาการจัดการหรือการเมืองต่างๆ ซึ่งเราสามารถช่วยได้
โดยที่บทบาทของ Designer คือ
- Mentor
- Facilitate
- หา Resource ให้
Human-Centered Design
ในอดีตนั้น คำๆ นี้จะถูกเรียกว่า User-Centered Design ซึ่งล้อกับ UCSD ที่ลุงแกอยู่ แต่ด้วยคำว่า User มันมีความแคบในตัวของมัน เพราะในตอนนั้นเป็นเรื่องของ ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งคนที่ใช้จะเรียกว่า User ช่วงหลังจึงเปลี่ยนแปลงให้ขอบเขตมันกว้างขึ้น
โดย Human-Centered Design จะอ้างอิงจากแนวคิดเกี่ยวกับ Design ที่กล่าวมาจึงได้หลักการมาดังนี้
- Human-Centered — ทำสิ่งที่เหมาะสมสำหรับคนที่ใช้งาน
- Solve Right Problem — ลุงเน้นว่าต้องเป็น Right Problem ต้องแยกให้ออกระหว่าง Symptom ซึ่งไม่ใช่ต้นเหตุของปัญหา ที่เราแก้ไปเดี๋ยวมันก็กลับมาใหม่ ให้มาเป็น Root Cause หรือ Fundamental Issue ซึ่งแน่นอนว่ามันจะยากกว่า แต่ก็จะแก้ไขได้ถาวรกว่า
- Everything is a system — เราไม่สามารถแก้ไขทีละจุดได้ เพราะทุกอย่างในระบบมีความเกี่ยวข้องกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราพบว่าเราเจ็บเข่าเวลาวิ่ง หลายคนมักจะโทษเข่าก่อน แต่ถ้าเราฉายในภาพรวม เราอาจจะพบว่า ที่เข่าเจ็บ เพราะกล้ามเนื้อส่วนรอบๆ เช่นก้น น่อง หน้าขา อาจจะอ่อนแอ และไม่ทำงานก็เป็นได้
- Try simple and small intervention — ในการแก้ปัญหานั้น เราไม่สามารถแก้ก้อนใหญ่ๆ ในครั้งเดียวได้ มันอาจจะต้องพัฒนาต่อเนื่องและเรียนรู้กับมันไปเรื่อยๆ
จาก Human สู่ Humanity
ในรูปแบบการออกแบบนั้น ในปัจจุบันก็มีอยู่หลายสำนักที่ออก Framework มา เช่น Design Thinking แต่ตรงนี้มันไม่ได้มีความสำคัญอะไร
เทคนิคการออกแบบมีได้หลายเทคนิค และเราจะใช้ของสำนักอะไรก็ได้
แต่สิ่งที่ทุกสำนักทำเหมือนกันคือ การ Focus ที่ คน สังคม และมนุษย์
ดังนั้น สำหรับตัวลุง เขาก็จะเริ่ม scope เพิ่มขึ้นมาจาก Human-Centered Design ไปสู่ Community-Centered Design และก้าวไปสู่ Humanity-Centered Design เพื่อที่จะให้พวกเราช่วงกันแก้ปัญหาสำหรับโลกในยุคศตวรรษที่ 21 ต่อไป