Disruption and The Burning platform
เรื่องนี้เป็นเรื่องต่อเนื่องจากที่ได้ฟังคุณไวท์ ที่ F11 พูดถึงเรื่อง burning platform ขึ้นมา
ยอมรับว่าแม้ส่วนจะวุ่นวายเกี่ยวกับ mobile หรือการเขียนโปรแกรมทางโทรศัพท์ช่วงนั้น แต่ก็ไม่เคยได้ยินเรื่องนี้จนกระทั่ง ข่าวโดน Microsoft ซื้อกิจการส่วนโทรศัพท์ไป
ซึ่งเรื่องนี้ก็เรื่องราวที่น่าศึกษาและเรียนรู้สำหรับคนที่จะทำธุรกิจเช่นเดียวกัน
ก่อนที่จะเข้าไปดูถึงสรุปของเนื้อหาของเรื่องนี้ต้องบอกก่อนว่า ช่วงที่ Apple ออก iPhone ตัวแรก นี่ก็เป็นอะไรที่โดน CEO ขาใหญ่วิจารณ์เยอะพอสมควร อย่างคุณ Stephen Elop นั้นก็โยนโทรศัพท์พิธีกรในรายการเลยทีเดียว
แต่หลังจากนั้น เดือนกุมภาพันธ์ ปี 2011 ตัว Stephen เอง ก็ได้ส่ง Memo ให้พนักงานของ Nokia โดยมีชื่อเรื่องว่า The Burning Platform โดยมีเนื้อหาโดยคร่าวๆ ดังนี้ครับ
Burning Platform ในที่นี้เขาหมายถึง แทนขุดเจาะน้ำมันกลางทะเล ที่กำลังลุกไหม้อยู่ ทางเลือกของเขามีอยู่ 2 ทาง คือ อยู่เฉยๆ ให้ไฟครอกตาย หรือกระโดดลงทะเลไป
เป็นที่ทราบกันว่า เมื่อไฟเจอน้ำมัน มันจะลามเร็วมาก ก็เปรียบเสมือนเหตุการณ์บางอย่างที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็จะทำให้เราล่มสลายไปอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน
ซึ่งตัว Stephen ก็ได้บอกสถานการณ์ของ Smartphone ให้กับพนักงานว่า
ตอนนี้โนเกียก็อยู่ใน Burning Platform เช่นเดียวกัน
โดยที่ คู่แข่ง iphone แย่งตลาดบน android ตลาดกลาง มือถือจีนตลาดล่าง โดยเฉพาะ apple นั้นไม่ได้แย่งแค่ยอดโทรศัพท์ แต่ได้แย่ง Developer , Service Provider ไปด้วย โดยมาจากการสร้าง Ecosystem ที่ดี เช่นเดียวกับ Android ที่ใช้ท่าคล้ายๆ กัน
ตลาดได้ไปสู่การแข่งขันของ Ecosystem ไปแล้ว มากกว่าโทรศัพท์เครื่องเดียว
ขณะที่โนเกียมีแต่โทรศัพท์ ไม่มี Ecosystem ใดๆ
นอกจากนี้ยังใช้ ตัว Symbian ซึ่งเก่าและไม่ยอมเปลี่ยนแปลงอะไร ทำให้ไม่สามารถสู้กับเทคโนโลยีใหม่ได้ทัน
ดังนั้นตัว Stephen เองก็เลยจำเป็นต้องตัดสินใจว่า จะทำอย่างไรต่อ จะสร้าง Ecosystem ใหม่, หรือจะเร่ง Ecosystem หรือจะไปร่วมกับ Ecosystem คนอื่น
หลังจากจุดนั้นก็คงเป็นที่ทราบกันว่า Nokia ก็ได้ไปร่วมกับทาง Microsoft นั่นเอง
Disruptive Innovation
ในช่วงระหว่างปี 2007 -2013 เป็นช่วงเวลาระหว่าง iphone เกิด จนกระทั่ง nokia โดย Microsoft ซื้อไป มันใช้เวลาเพียง 6 ปีเท่านั้นเอง
โดยแม้ว่าช่วงปี 2007 ที่ออก iPhone ตัวแรกมานั้น ก็ยังไม่ได้มี Adoption Rate ที่สูงมากนั้น แต่หลังจากปี 2008 ที่น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของยุค Mobile First อัตราการใช้ Traffics สูงขึ้น และจำนวนของ App ในโทรศัพท์ก็มากขึ้นด้วย
โดยเฉพาะเมื่อ Android มาก็ยิ่งทำให้คนวิ่งเข้าไป Smart Phone กัน
สิ่งที่เกิดขึ้นคือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่ทำให้โทรศัพท์ Feature Phone ของ Nokia ถูกลดความสำคัญลง
เรื่องนี้ทำให้นึกถึงไอเดียของ อ. เครตัน คริสเตนเซ่น เกี่ยวกับ Disruptive Innovation ขึ้นมา แกบอกหลักการง่ายๆ ว่า Product ที่จะ Disrupt ชาวบ้านจะมาด้วยวิธีการใหม่ แต่ในช่วงแรก อาจจะด้วยข้อจำกัดเช่น ตลาดยังไม่เห็น ราคา เป็นต้น จะทำให้สินค้าใหม่ ไปจับอยู่ในกลุ่มเล็กๆ ก่อน
เมื่อเริ่มเป็นเจ้าถิ่นในกลุ่มขนาดเล็กแล้ว ก็จะมีการเติบโตขึ้น คุณภาพดีขึ้น จนมีนัยยะสำคัญเพียงพอต่อการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้
ในวันที่โนเกียกล่าวว่า เราไม่มีทียืนเพราะ Ecosystem ทั้งหมดถูกจองไว้โดย Apple กับ Android เรียบร้อยแล้ว นี่คือช่วงเวลาที่ สินค้าเหล่านั้นเข้าสู่ Mainstream เรียบร้อยแล้ว
ความยากของ Disruptive Innovation อีกเรื่องคือ ในช่วงหลังเรามักจะเจอมาจากคู่แข่งที่อยู่คนละอุตสาหกรรม ซึ่งในอดีตที่ผ่านมามักจะเป็นจุดบอดที่บริษัท มักจะมองข้ามเสมอ อาจจะด้วยประสบการณ์ของเราที่สูงกว่า ทำให้ประมาทไป
อย่างไรก็ตามในช่วงหลังๆ นี้ บริษัทหลายแห่งก็มีความพารานอยด์กับเรื่องนี้มากขึ้น จนกระทั่งต้องเตรียม disrupt ตัวเองบ่อยๆ
สุดท้ายแล้ว เราได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้
ก็คงจะเป็นการที่เราต้องหมั่นดูแนวโน้มและทางลมอย่างสม่ำเสมอ ดูว่าพฤติกรรมผู้ใช้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
อาจจะต้องลองเจ็บตัว ทดลองอะไรใหม่ๆ บ้าง ก่อนที่จะโดนคนอื่นมาทดลอง
อย่าประมาทคู่แข่ง แม้ว่าจะอยู่คนละอุตสาหกรรมก็ตาม
และอย่ากลัวการเปลี่ยนแปลง เพราะสุดท้ายมันจะเปลี่ยนแปลง
ถ้าเราหยุดไป อีกวันหนึ่ง เราอาจจะตื่นมาพร้อมกับ Burning Platform อีกก็เป็นได้