Katakanaisation
ในภาษาญี่ปุ่น ชุดตัวอักษร Katakana มักจะใช้สำหรับการสร้างคำจากคำที่เป็นภาษาต่างประเทศ โดยมีกฎกติกาค่อนข้างชัดเจน
เช่น
Tomato => トマト
ผักชี => パックチ
ตอนที่เรียนการแปลงคำเป็นภาษาญี่ปุ่นตอนนั้นใช้หนังสือของโรงเรียนสอนภาษาราชดำริ เป็นอะไรที่ดูสนุกดี
แต่ก็ได้มีโอกาสเอาไปใช้งานจริง ตอนมัธยม คือ มีนักเรียนแลกเปลี่ยนญี่ปุ่น มาที่เมืองไทย
ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ คนไทยชื่อมหัศจรรย์มาก
ซึ่งตอนนั้น ก็มีปัญหาการออกเสียงชื่อภาษาไทย
เลยได้เอาชื่อ มาเขียนเป็น Katakana ใช้กับนักเรียนแลกเปลี่ยนคนนั้น เช่น
- ティーラユット
- ボーム
ซึ่งนั่นก็ทำให้เขาสามารถเรียกชื่อได้ใกล้เคียงพอจะเรียกกันได้
มาเกาหลีล่าสุด ก็ได้เห็นการใช้ Katakana ในลักษณะที่คล้ายๆกัน คือ ในป้ายชื่อสถานที่ต่างๆ การเขียน katakana มักจะใช้การทับศัพท์ภาษาเกาหลีไปตรงๆ เลย
เช่น
Olympic Park ถ้าในเว็บญี่ปุ่น เราจะเห็นคำว่า オリンピック公園 (O-lim-pikku Kou-en) แต่เราจะเห็นคำว่า オリンピックコンウォン โดยที่คำว่า コンウォン มาจาก 공원 (kongwon) ซึ่งเป็นภาษาเกาหลี แปลว่าสวนนั่นเอง
นอกจากนี้เราอาจจะไปเจอในเมนู ร้านอาหารเกาหลีอีกด้วย โดยเขาจะเขียนภาษาอังกฤษเป็นคำแปลปกติ แต่ใช้ภาษาญี่ปุ่นคาตาคานะ เหมือนภาษาคาราโอเกะ เลย
ยอมรับว่า ตอนที่เห็นตอนแรก บางทีก็นึกไปเป็นเรื่องการเมืองอะไรบ้าง อย่างไรก็ตามประโยชน์ในเรื่องนี้ จะเห็นชัดๆ ในตอนที่เข้าร้านอาหารท้องถิ่นนี่แหละ
เพราะเราต้องไม่ลืมว่า คนเกาหลี ก็ไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษมากนัก
ถ้าจะแปลให้ถูกต้อง ก็คงต้องมีการแปลสัก 2 ชั้นเป็นอย่างน้อย
แต่ถ้าสามารถทำให้คนญี่ปุ่นออกเสียงได้ใกล้เคียงกับที่คนเกาหลีใช้ มันก็จะง่ายในการสื่อสารมากขึ้น
อย่างเช่น ป้ายรถไฟสถานี DDP
ภาษาเกาหลี จะออกเสียงประมาณว่า Dongdaemun Yeoksa Munhwa Kongwon
ภาษาญี่ปุ่น จะออกเสียงประมาณว่า Don-de-mun Yo-ku-sa-mun-fa gon-won
พออ่านเร็วๆ ก็ใกล้เคียง เวลาถามทาง น่าจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น
แม้ญี่ปุ่นจะดูมีความ conservative แต่ตัวอักษรคาทาคานะก็เป็นช่องทางหนึ่งในการเปิดรับภาษาของชาติอื่นๆ ให้มาอยู่ใน context ของภาษาญี่ปุ่นได้ และยังมีความคล้ายคลึงกับคำเดิมของเจ้าของภาษา อีกทั้งมีหลักการผันทัพศัพท์ที่ค่อนข้างชัดเจน ทำให้การผันคำมาไปในแนวทางเดียวกันได้ แม้สุดท้ายการออกเสียงจะไม่เหมือนกัน 100% ด้วยข้อจำกัดของภาษา แต่ก็สามารถลดช่องว่างในการสื่อสารได้ง่ายขึ้น