Project Surveyor: การสร้างความชัดเจนให้กับทีมงานส่งผลต่อการดำเนินงานอย่างไร

Teerayut Hiruntaraporn
2 min readJan 1, 2021

--

ช่วงประมาณปี 1962 ทาง NASA ได้เริ่มโปรเจค Surveyor ซึ่งเป็นโปรเจคสำหรับสร้างยานที่จะใช้ในการสำรวจพื้นผิวของดวงจันทร์ โดยยานสำรวจนี้จะลงพื้นผิวดวงจันทร์ วัดค่า และถ่ายภาพ ระหว่างการสำรวจพื้นผิวดวงจันทร์

Surveyor 3 during Apollo 12, 1969. ภาพจาก Wikipedia

ซึ่งในการออกแบบนั้น จุดที่ยากที่สุดคือ ในช่วงเวลานั้น ไม่มีใครรู้เลยว่าพื้นผิวของดวงจันทร์มีลักษณะเป็นอย่างไร ซึ่งถ้าเรารู้ว่าพื้นผิวเป็นลักษณะไหน จะทำให้ออกแบบโครงสร้างของยาน และปรับรูปแบบการขยับให้เหมาะสมได้ เช่น ถ้าพื้นผิวเป็นทรายละเอียดก็ไม่สามารถใช้ล้อรถปกติได้ หรือถ้าพื้นผิวลื่นก็ต้องออกแบบให้ส่วนล่างเกาะมากขึ้น และแน่นอนว่าถ้าตัดสินใจผิด เราจะแก้ตัวได้เมื่อยิงจรวดไปดวงจันทร์รอบถัดไปซึ่งใช้ทั้งทรัพยากร และเวลา

โดยในการอภิปรายจากข้อมูลเบื้องต้น ทางทีมงานเชื่อว่าพื้นผิวของดวงจันทร์น่าจะมีความเป็นไปได้อยู่ 3 แบบ

  1. พื้นนุ่มละเอียด
  2. เป็นทุ่งของแท่งคลิสตัล
  3. กลุ่มก้อนหินขนาดใหญ่

การตัดสินใจในการออกแบบเป็นไปได้ยากลำบาก เพราะเนื่องจากไม่มีใครเคยเป็นพื้นผิวจริงๆ ทำให้จินตนาการเคสไปไกล และไม่สามารถที่จะ Defend model ในการออกแบบได้ง่ายๆ

ดังนั้นการจัดการปัญหานี้จึงเป็นหน้าที่ของ Phyllis Buwalda คนนี้เป็นไดเรคเตอร์ในหน่วย Future Mission Studies ของ NASA Jet Propulsion Laboratory

Phyllis ได้กำหนด Specification จาก model พื้นผิวดวงจันทร์ที่เขาได้ศึกษามาแล้วส่งให้ทีมวิศวกรและคนทำงานอื่นๆ จึงสามารถดำเนินการต่อกันไปได้

แล้ว Phyllis เขียนอะไรไปใน Specification นั้น เขียนอธิบายพื้นผิวดวงจันทร์ดังนี้ครับ

Hard and grainy, with slopes of no more than about 15 degrees, scattered small stones, and boulders no larger than about 2 feet across spaced here and there

จากคำอธิบายดังกล่าว ทีมงานคนนึงก็นึกได้ว่า นี่มันคล้ายกับทะเลทรายทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เลย ซึ่งทาง Phyllis ก็ตอบง่ายว่า ใช่เลย

ทีมงานคนนั้นสงสัยเลยสอบถามต่อไปว่า ตัว Phyllis เองก็ไม่รู้ว่าพื้นผิวดวงจันทร์เป็นยังไง ทำไมถึงบอกมาเป็นแบบทะเลทรายได้

ตัวคุณ Phyllis ให้คำตอบที่น่าสนใจว่า

วิศวกรทำงานไม่ได้ถ้าไม่มี Spec

และถ้าสถานการณ์มันแย่กว่านี้ เราก็จะทำอะไรบนดวงจันทร์ไม่ได้มากกว่านี้

มีสิ่งที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่ Phyllis ตอบคือ ก่อนที่ Phyllis จะให้คำตอบเรื่องนี้ ทีมงานไม่สามารถทำงานกันต่อได้ หรือพูดง่ายๆ คือ รอให้ตรงนี้มันชัดเจนก่อน ซึ่งถ้าเรารอคอยที่จะรู้ว่าพื้นผิวดวงจันทร์เป็นยังไง เราอาจจะต้องรอไปหลายปี อาจจะต้องรอให้มีสักประเทศขึ้นไปดวงจันทร์ก่อน ซึ่งไม่ใช่ความต้องการของอเมริกาแน่นอน แต่เมื่อทีมงานได้รับ Specification ที่ชัดเจนไปแล้ว ทีมงานสามารถทำงานต่อได้เพราะได้เห็นสิ่งที่ต้องทำอย่างชัดเจน

ขณะเดียวกัน ถ้าเกิดว่าพื้นผิวของดวงจันทร์ไม่สามารถที่จะลงจอดได้ด้วยอากาศยานปกติ ปัญหาอาจจะใหญ่กว่าแค่เรื่องการออกแบบ อาจจะกลายเป็นว่าดวงจันทร์ไม่สามารถลงจอดได้เลย ซึ่งต้องไปจัดการเรื่อง Direction ใหม่ทันที ขณะที่ทาง Phyllis ก็มองว่า สภาพพื้นทะเลทรายที่ได้บอกไป คือ Worst-cased ที่เรายังสามารถออกแบบยานลงจอดได้

ในอีกมุมนึงอาจจะมีสมมติฐานว่า พื้นผิวดวงจันทร์ที่จะไปลงจอด ไม่น่าจะเลวร้ายกว่าพื้นที่ทะเลทรายตรงที่เราทำแล้ว

ในที่สุดยานสำรวจ Surveyor ก็ถูกนำไปใช้งานในดวงจันทร์ โดยตัวยานประสบความสำเร็จในการลงไปที่พื้นผิวดวงจันทร์ 5 จาก 7 ครั้ง ปัจจุบัน ทั้ง 7 ตัวยังคงอยู่ที่ดวงจันทร์ โดยจะมีส่วนของ Surveyor 3 ที่ถูกนำกลับมาบางส่วน โดยนักบินอพอลโล 12

ส่งท้าย

มันมีปัญหาหลายปัญหาในโลกใบนี้ที่เราไม่มีข้อมูลทั้งหมด ซึ่งการที่ไม่มีข้อมูลทั้งหมดนั้นก่อให้เกิดความคลุมเครือในการทำงาน ความคลุมเครือนั้นก็ส่งผลต่อการตัดสินใจของทีม และทำให้การทำงานนั้นช้าลงเพียงเพราะอาจจะต้องรอข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งอาจจะได้ข้อมูลนั้นครบๆ อาจจะเป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี หรืออาจจะตลอดช่วงอายุขัยของคนก็เป็นได้ ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้นก็เป็นการยากที่เราจะทำงานให้สำเร็จได้

การตัดสินใจนอกจากความถูกต้องแล้ว ยังมีปัจจัยเรื่องของเวลา ถ้าตัดสินใจช้าไปอาจจะส่งผลอย่างอื่นได้ การปรับสมดุลในการรวบรวมข้อมูลและเวลาที่ใช้ จึงต้องทำให้เหมาะสมตามความสำคัญของงานนั้นๆ

สิ่งที่ตัวคุณ Phyllis รู้นั้นคือ “วิศวกรจะทำงานไม่ได้ถ้าไม่มี spec” กับ “การที่รู้ว่าถ้าสถานการณ์มันยากกว่า spec นี้มันก็ทำไม่ได้แล้ว” เป็นจุดที่สำคัญที่ทำให้งานสามารถเดินต่อได้ ซึ่งตรงนี้เป็นมุมหนึ่งของผู้นำ คือการจัดการความซับซ้อนวุ่นวาย และคลุมเครือ เพื่อที่จะให้ทีมงานสามารถทำงานต่อจากปัญหาที่สามารถแก้ได้นั่นเอง

ที่มา

  1. Good Strategy Bad Strategy , Richard Rumelt , Chapter 7 Proximate Objective
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Surveyor_program

--

--

Teerayut Hiruntaraporn
Teerayut Hiruntaraporn

No responses yet