Proximate Objective: การประกาศเหยียบดวงจันทร์นั้นไกลเกินเอื้อมจริงหรือ

Teerayut Hiruntaraporn
1 min readDec 15, 2020

--

ก่อนที่จะเล่าเรื่องนี้ ต้องยอมรับว่า มันเป็นความบังเอิญที่เปิดหนังสือเรื่อง Good Strategy / Bad Strategy ในบทนี้พอดี ไล่เลี่ยไปกับข่าวที่บอกว่าบ้านเราจะสร้างยานอวกาศไปดวงจันทร์ใน 7 ปีทีเดียว ส่วนตัวเลยคิดว่าบทนี้มันน่าสนใจที่จะบอกถึงเบื้องหลังการพูดของ ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ. เคเนดี้ ในวันที่ 12 กันยายน 1962 ว่าเป็นการพูดที่เพ้อเจ้อ หรือว่า เขามั่นใจว่าทำได้อยู่แล้วกันแน่

สิ่งที่เขียนอ้างอิงมาจาก Good Strategy / Bad Strategy ของ Richard Rumelt บทที่ 7: Proximate Objective

หลายคนมักจะเปลี่ยนเทียบสุนทรพจน์ของเจเอฟเค ว่ามันไม่ได้ต่างจาก การพูดของ มาติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์สักเท่าไหร่ ซึ่งใช้ความสามารถของความมีคาริสม่าของผู้พูด แต่ในหนังสือเล่มนี้ จะบอกว่า สิ่งที่เจเอฟเคพูดนั้น แท้จริงแล้ว มันเป็นเป้าหมายที่ใกล้เคียงที่จะสามารถบรรลุได้อยู่แล้ว

ซึ่งก่อนอื่นจะต้องทำความเข้าใจกับคำส่ง Proximate Objective เสียก่อน คำๆนี้ ถ้าแปลตรงๆ ก็เป้าหมายใกล้เคียง ถ้าในแนว context ของคำว่า Proxy ที่แปลว่าของใกล้ตัว ก็จะคลับคล้ายคลับคลาประมาณว่า เป็นเป้าหมายที่สามารถเอื้อมถึงได้ อาจจะสบายหรืออาจจะใช้แรงเยอะ แต่ก็สามารถเอื้อมถึงได้

ส่วนตัวคิดถึงตอนฟุตบอลเอเชียนเกมส์ครั้งหนึ่งที่ไทย 9 คนสามารถเอาชนะ เกาหลีใต้ 2–1 นั่นคือถือเป็นเป้าหมายที่สามารถเอื้อมถึงได้ที่กว่าจะผ่านมันก็สาหัสสากันอยู่

หรือถ้ามองอีกนัยหนึ่งก็คือ เป้าหมายนี้มันยากมากๆ กว่าจะสำเร็จ หรือบางปัญหามองในสายตาคนอื่นคือเป็นไปไม่ได้เลยมากกว่า ซึ่งนี่เองที่น่าจะเป็นแก่นหลังของเรื่องนี้ เพราะเมื่อมันไม่ใช่ทุกคนที่เห็นโอกาส คนที่สามารถทำได้ก็จะได้ข้อได้เปรียบเหนือคู่แข่งขึ้นมา

ทีนี้ทำไมผู้เขียนถึงบอกว่า การไปเหยียบดวงจันทร์เป็น Proximate Objective เขาให้เหตุผลดังนี้ครับ ในสุนทรพจน์ของเจเอฟเคเอง สามารถอธิบายขั้นตอนต่างๆ ในการเข้าไปถึงเป้าหมายได้อย่างชัดเจน เช่น เขาพูดถึงข้อได้เปรียบของโซเวียต เขาพูดถึงสิ่งที่ต้องทำ ได้แก่ การส่งอากาศยานไร้มนุษย์ขึ้นไปสำรวจ การพัฒนาตัวขับไอพ่นขนาดใหญ่ การพัฒนาเชื้อเพลิงแข็งและเหลว รวมถึงการคิดยานพาหนะที่ใช้ในการลงจอด ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ถูกพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่นจากระบบมิสไซส์พิสัยไกลในกองทัพ ทำให้จริงๆแล้ว อเมริกาไม่ได้เริ่มต้นจาก 0

คำถามคือแล้วอะไรทำให้มั่นใจว่าอเมริกาจะถึงดวงจันทร์ก่อนโซเวียต ถึงตรงนี้ทางวิศวกรจรวดชื่อ Von Braunn ก็ตอบว่า อเมริกามี resources ที่มากกว่าโซเวียตเยอะมาก ในการไปดวงจันทร์น่าจะใช้ทรัพยากร 10 เท่าของการขึ้นรอบโลก ดังนั้นโซเวียตซึ่งทรัพยากรจำกัดกว่าจะเสียเปรียบ

และ Von Braunn นี่เองนี่เป็นคนเขียน Memo ให้กับ เจเอฟเค ทำให้อีกหนึ่งเดือนต่อมาจึงเกิดสุนทรพจน์การนำคนไปเหยียบดวงจันทร์นั่นเอง

นอกจากเป้าหมายที่ดูเป็นไปไม่ได้แต่สามารถทำให้เป็นไปได้แล้ว ผู้เขียนยังยกตัวอย่างเป้าหมายที่ดูสวยหรู แต่เป็นไปไม่ได้เพราะไม่ได้รู้ขั้นตอนในการทำให้เป้าหมายเป็นจริงได้อย่างแท้จริง เช่นการทำสงครามกับยาเสพติด ซึ่งทำให้แค่ให้ราคายาเสพติดมันสูงขึ้นสำหรับปลายน้ำเท่านั้น

ทีนี้ย้อนกลับมาถึงเรื่องไทยจะไปเหยียบดวงจันทร์ใน 7 ปี จะทำได้ไหม

ก็คงต้องย้อนมาถามในวิธีการเดียวกัน

  1. เรามีปัจจัยอะไรที่จะทำให้เป้าหมายนี้สามารถเอื้อมถึงได้ ทรัพยากร? คน ? เทคโนโลยี? เงิน?
  2. แล้วใน 7 ปีนี้ จะมีเป้าหมายย่อยที่ต้องสำเร็จก่อน อะไรบ้าง?

แล้วสุดท้ายอาจจะกลับมาตอบคำถามที่ Popular ที่สุด

“Start with Why”

อเมริกาตอบว่าเพื่อให้เราเป็นผู้นำด้านอวกาศ อีกทั้งผลพลอยได้คือการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคคลากรที่ก้าวกระโดดในช่วงนั้น

ซึ่งเราก็ควรจะต้องตอบได้เช่นเดียวกัน

--

--

Teerayut Hiruntaraporn
Teerayut Hiruntaraporn

No responses yet