Review การตรวจสอบ CPET โดย Health Performance Team

Teerayut Hiruntaraporn
2 min readMar 8, 2020

--

วันนี้ได้ไปทดสอบสมรรถภาพหัวใจ CPET ของ Health Performance Team ที่โรงพยาบาลยันฮีมาครับ สาเหตุที่ไปตรวจเนื่องจากเหตุที่ปีที่แล้วการวิ่งค่อนข้างจะต่ำกว่าเป้าหมายที่ต้องการพอสมควร จากทั้งเรื่องอาการบาดเจ็บหรือการซ้อมที่ไม่ค่อยเข้มข้นสักเท่าไหร่ ดังนั้นปีนี้เลยว่าจะยกเครื่องใหม่ ทั้งเรื่องของสภาพร่างกาย และหัวใจ เลยจำเป็นต้องรู้ข้อมูลที่เป็น baseline ต่างๆ ก่อนว่า เราอยู่ที่ไหน ถึงจะจัดตารางและแผนเทรนเพื่อที่จะไปหาเป้าได้

ภาพประกอบการทดสอบ จาก Avarin

การจองเวลาตรวจ

โดยการขอเข้าไปทดสอบสมรรถภาพที่ทาง HP Team ก็ไม่ยากอะไรครับ ก็เข้าไปที่หน้าเพจของทาง HP Team https://www.facebook.com/HPTThailand จากนั้นก็กด Chat อย่างเดียว ซึ่งทางทีมงานจะใช้ Chatbot ในการจัดการ เราก็เลือกที่ “CPET” แล้วก็เลือก “นัดหมาย” จากนั้นเขาจะให้เรากรอก Google Form เราก็กรอกๆ ให้เสร็จ

หลังจากนั้นไม่นานทางเจ้าหน้าที่จะติดต่อกลับเข้ามาเพื่อนัดหมาย และแนะนำในการเตรียมตัวครับ

การเตรียมตัวก่อนตรวจ

  1. งดอาหาร 3 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจ
  2. งดการออกกำลังกายหนัก 1 วันก่อนตรวจ
  3. เตรียมชุดออกกำลัง รวมถึงรองเท้าที่ใส่ออกกำลัง
  4. มาก่อนเวลา 15 นาที เพื่อทำเวชระเบียน

วันตรวจ

เมื่อมาถึงที่โรงพยาบาลยันฮี เราก็ไปที่แผนกต้อนรับก่อน จัดการเรื่องระเบียนให้เรียบร้อย (ถ้าเคยมาแล้วก็น่าจะเร็วขึ้น) จากนั้นเจ้าหน้าที่จะพาเราไปที่ศูนย์หัวใจ เมื่อซักประวัติ วัดส่วนสูงความดันเรียบร้อย ก็จะไปที่ห้องเพื่อเปลี่ยนชุดใส่รองเท้า

จากนั้นก็เมื่อเข้าไปที่ห้อง หมอจะสอบถามข้อมูลเพิ่ม และแนะนำกระบวนการในการทดสอบต่างๆ จากนั้นก็ติดตั้งอุปกรณ์ที่ตัว และใส่หน้ากากก็พร้อมที่จะทดสอบแล้ว

สิ่งที่สำคัญคือการส่งซิกระหว่างเรากับเจ้าหน้าที่ เนื่องจากเราไม่ควรจะพูดเพราะอาจจะส่งผลต่อการแปลผล จึงต้องมีการคุยเพื่อ Feedback ความรู้สึกเหนื่อยว่าเป็นระดับไหนแล้วของ Borg Scale ซึ่งการส่งซิกก็มีแค่ โอเค, ลดลง , เพิ่มขึ้น เท่านั้นเองครับ

Borg Scale
ตัวอย่าง Borg Scale (จาก https://evolveendurancecoaching.nl/training/how-to-read-the-borg-scale)

เมื่อเริ่มการทดสอบ จะเริ่มที่อยู่นิ่งๆ บนสายพาน 90 วินาที จากนั้นสายพานจะเริ่มเคลื่อนโดยช่วงแรกเราก็จะค่อยๆ เดินก่อน จากนั้นก็เริ่มกลายเป็นเดินเร็ว และเข้าสู่การวิ่งในที่สุด

ในระหว่างทาง เจ้าหน้าที่จะสอบถามความเหนื่อย และคอยเช็คว่าเราจะไม่หลุดจากสายพานระหว่างทดสอบ ถ้าใกล้จะหลุดก็จะเตือนให้วิ่งไปข้างหน้าอีกหน่อย ประมาณนี้

ช่วงจังหวะสุดท้ายจะมันส์มาก ถ้าไหวก็จะลากไปเรื่อยๆ แต่ถ้าไม่ไหว ก็ให้ จับราวแล้วยกตัวให้ขาไปอยู่ข้างๆ สายพาน จากนั้นก็ค่อยๆ เดิน Cool Down จนหยุดสายพานเป็นอันเสร็จพิธี

รายงานผล

เมื่อเจ้าหน้าที่เอาอุปกรณ์ออกจากตัวเรียบร้อย ทางน้ำอะไรสักหน่อย หมอก็จะรายงานผลการทดสอบให้หลังจากนั้นไม่นาน โดยจะแบ่งเป็นส่วนของสภาพการทำงานของหัวใจ และส่วนของประสิทธิภาพ เมื่อเสร็จแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธีกรรมในการทดสอบ

หลังจากการทดสอบ

หลังจากออกจากห้องตรวจ ทางโรงพยาบาลมีห้องอาบน้ำให้ ก็อาบสักหน่อย ซึ่งแนะนำว่าควร เพราะทดสอบเสร็จแล้ว เหงื่อจะเต็มตัวมากๆ จากนั้นก็รับเอกสารรายงานผล (ทางเจ้าหน้าที่จะส่งอีเมลให้เราด้วยอีกชุด) และไปจ่ายตังค์ เสียค่าใช้จ่ายไป 4720 บาท ซึ่งก็ถือว่าคุ้ม เพราะเราก็ได้ข้อมูลทั้งเรื่องของหัวใจที่ยังโอเค Zone การวิ่งที่ควรใช้ และตารางซ้อม)

ผลการทดสอบของตัวเอง

อย่างแรกสุดสภาพหัวใจโอเค ไม่มีการเต้นผิดจังหวะ หรืออะไร ปัญหาที่พบคือ การหายใจใน Zone สูงๆ ไม่ค่อย stable ทั้งนี้เกิดจากที่ว่าง ปกติ ซ้อมขี้เกียจมาก ไม่ค่อยวิ่งเร็ว เลยทำให้การหายใจในช่วงโซนสูงมีประสิทธิภาพลดลง

ช่วง Zone Hr นี่ก็น่าสนใจ ช่วงที่ Optimize กับ Fat Burn สุดจะอยู่ที่ HR ประมาณ 131–135 ถ้าต้องการจะเผาไขมันก็วิ่งที่ประมาณเพส 7:00–7:20 ซึ่งก็บังเอิญวิ่งแถวๆนั้นพอดีเลย ฮ่าาาา

ดังนั้นทางหมอเลยแนะนำให้ซ้อมโซน 3 กับ 4 เพิ่ม เพื่อฝึกการใช้ออกซิเจนในโซนที่สูงขึ้นให้ดีขึ้นกว่านี้

--

--

Teerayut Hiruntaraporn
Teerayut Hiruntaraporn

No responses yet