ความน่ากลัวของการเชื่อในความไม่เปลี่ยนแปลง

--

วันก่อนโดยบังเอิญได้ฟังบนสัมภาษณ์ของอ. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ ในคลิปรายการ คิดเพื่อไทย(5/7/60)

อาจารย์แกพูดถึงเรื่องเหตุการณ์ต้มยำกุ้ง crisis ในอีกมุมที่ส่วนตัวก็ไม่เคยรู้

อาจารย์กล่าวว่าสาเหตุจริงๆที่เรามีปัญหา คือเราปรับตัวไม่ทันโลก

โดยเริ่มเป็นสัญญาณที่ภาคการส่งออกติดลบเป็นครั้งแรก ในปี 1996 ซึ่งปีนั้นเป็นปีที่เศรษฐกิจโลกดี ทำให้หลายประเทศก็สงสัยว่าเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย ซึ่งแกก็บอกว่ามาจากการเปลี่ยนแปลงต่างๆในโลกทำให้เราเสียเปรียบทางการแข่งขัน

โดยจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงคือการล่มสลายของคอมมิวนิสต์และสหภาพโซเวียต ซึ่งก่อนหน้านี้ที่โลกยังแบ่งเป็น 2 ค่าย คือค่ายประชาธิปไตยและคอมมิวนิสต์ ประเทศที่พัฒนาอย่างอเมริกาหรือญี่ปุ่น ก็จะไม่เลือกไปลงทุนในประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ ทั้งที่ค่าแรงถูกกว่าไทยตั้งแต่แรก

เมื่อคอมมิวนิสต์ล่มสลาย ประเทศอื่นๆ ก็พัฒนาและเริ่มได้รับโอกาสการลงทุน ในอุตสหกรรมโรงงานต่างๆ ขึ้นค่อยๆ ขึ้นมา ขณะที่เราเองก็ไม่ได้พัฒนาแนวทางเรื่องแรงงานต่อมากนัก จึงเริ่มเสียส่วนแบ่งการตลาดไปเรื่อยๆ

ในอีกมุมหนึ่ง สินค้าลักษณะใหม่คือสินค้าดิจิตอลก็เริ่มเข้ามา ซึ่งสินค้าประเภทนี้ เราก็ไม่ได้อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ที่ได้คุณค่ามากนัก

สุดท้าย คือการเปิดเสรีทางการเงินอย่าง BIBF ซึ่งทำให้เกิดการเล่นแร่แปรธาตุ โดยการไปกู้เงินจากต่างประเทศซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยน้อยประมาณ 1–2% แล้วมาปล่อยกู้เมืองไทยซึ่งมีดอกเบี้ย 6–7% โดยที่ทั้งหมด หลายๆ หน่วยก็ทำโดยอยู่บนสมมติฐานที่ว่า ค่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทจะไม่เปลี่ยนแปลง (ตอนนั้นเงินบาทอ้างอิง USD​ ) เมื่ออัตราแลกเปลี่ยนไม่เปลี่ยนก็ไม่มีใครคิดถึงเรื่องความเสี่ยงใดๆ

จากข้อมูลที่ได้ฟังมา ก็รู้สึกว่า สาเหตุทั้งหมด จะมีที่มาอยู่คล้ายๆกัน คือ การมีสมมติฐานว่า Context มันจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ

แต่สุดท้ายก็กลายเป็นอย่างที่เราได้ทราบกัน ทุกอย่างก็เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เป็นบทเรียนสำคัญที่อยากให้เรียนรู้กันว่าทุกสิ่งทุกอย่างสุดท้ายมันจะเปลี่ยนไป สิ่งที่ดีคือ การเปลี่ยนแปลงมันจะมีสัญญาณต่างๆ บอกมาเรื่อยๆ เพียงแต่เราจะรับรู้หรือไม่เท่านั้นเอง

เรื่องที่น่าสนใจคือ อาจารย์แกก็บอกว่า เศรษฐกิจเราถ้าจะมีปัญหาจะมาจากข้างนอก เช่นประเทศอย่างจีน มีปัญหา แล้วตอนนี้เราพึ่งก็จีนเยอะ เช่นเรื่องการท่องเที่ยว ซึ่งบทสัมภาษณ์นี้พูดเมื่อปี 2560 เมื่อกลับมาดูสถานการณ์ปัจจุบันยิ่งเป็นอะไรที่ชัดเจนมาก เพราะเราก็ยังคิดไม่ได้ต่างจากเดิม ก็คือบางคนก็ยังตั้งสมมติฐานว่าจีนจะอยู่กับเรา แต่หลังจากการมาของโควิค-19 นักท่องเที่ยวจีนซึ่งเดิมมีจำนวนมากก็หายไป

ดังนั้น ความไม่แน่นอนคือความแน่นอน ใครที่มีภูมิคุ้มกัน ก็จะได้เปรียบ

ที่มา

--

--

Teerayut Hiruntaraporn
Teerayut Hiruntaraporn

No responses yet