คำแนะนำเรื่องการสื่อสารจาก Don Norman

--

เรื่องนี้มาจาก Course Online: Design for the 21st Century with Don Norman

ในการทำงานนั้นทุกคนย่อมมีความต้องการที่จะนำเสนอไอเดีย หรือแสดงความเชี่ยวชาญในงานนั้นๆ ในการที่จะสามารถโน้มน้าวคนอื่นๆ ได้ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการสื่อสารที่ชัดเจน

อย่างไรก็ตามยิ่งเราจดจ่อในงานที่ลึกขึ้น การสื่อสารก็กลับยากขึ้น ทั้งนี้อาจจะเพราะศัพท์ หรือเทคนิคที่ยากขึ้น

คุณ Don Norman จึงได้แนะนำแนวทาง และการฝึกฝนไว้ประมาณนี้ครับ

เริ่มด้วยตัวอย่างจริง แล้วค่อยตามด้วยหลักการหรือเรื่องอื่น

หลายครั้งที่ในการพูดคุยกัน ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ มักจะนำเอาหลักการมาทำให้มันลอยๆ เป็นนามธรรมมากขึ้น สาเหตุหนึ่งคือ หลักการที่ลอยๆ มันจะสามารถนำไปใช้กับสถานการณ์ได้หลากหลาย

แต่ถ้าเราเอาหลักการลอยๆ มาพูดให้กับคนอื่น ก็จะมีหลายครั้งที่มันแตะต้องหรือทำความเข้าใจได้ยาก

ดังนั้นคำแนะนำของลุงเขาคือ ให้เอาตัวอย่างที่เป็นการนำไปใช้จริง มาพูดก่อน

ตัวอย่างจริง จะช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ลองใช้สัก 2–3 ตัวอย่าง แล้วค่อยมาขมวดเข้าสู่หลักการ

จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจหลักการและตัวอย่างสถานการณ์การนำไปใช้ได้

ความเห็นเกี่ยวกับ Lecture

Lecture ในความเห็นของ Don Norman นั้น อธิบายว่า

มันคือวิธีที่แย่ที่สุดในการเรียนรู้ แต่เป็นวิธีที่ง่ายในการสอน

ซึ่งสิ่งที่ได้จาก การ Lecture ไม่ใช่เนื้อหา ตัว Don เองไม่คาดหวังให้ผู้ฟังจะเข้าใจเนื้อหาทั้งหมด

แต่ Lecture มีสิ่งที่ดีอยู่ ถ้าใช้เป็น นั่นคือ

มัน Motivate คนได้

ถ้าคน Lecture สามารถสร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ฟังได้ ผู้ฟังจะนำความตื่นเต้นนั้น ไปต่อยอดต่อเอง

การฝึกอธิบาย

Don มีแนวทางการพัฒนาการสื่อสารดังนี้

  1. ฝึกให้ผู้พูด พูดในงานที่ตัวเองทำ กับกลุ่มผู้ฟังที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลาย เช่นอาจจะเป็นนักเรียนระดับเดียวกัน ที่อยู่คนละสาขาวิชา เพื่อผู้พูดพูดจบ ก็จะมีการตั้งคำถามต่างๆ โดยตัว Don จะเป็นตัวกระตุ้นในช่วงแรกในการถามเรื่องที่ไม่เข้าใจ จากนั้นผู้ฟังจะเริ่มถามตาม ผู้พูดเมื่อได้ตอบคำถาม ก็สามารถพัฒนาวิธีการสื่อสารได้ ก็จะมาพูดใหม่ในอีกรอบหนึ่ง การฝึกซ้อมจะเป็นการทำซ้ำไปเรื่อยๆ
  2. ในบางครั้ง การทำให้คนพูดหัวร้อน ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ได้ประโยคที่ง่ายๆ ขึ้นมา ในครั้งหนึ่ง ลุงแกถามนักศึกษาสายวิทย์ฯท่านหนึ่งที่เอาโมเดลคณิตศาสตร์มาพูด จนเขาเกิดอาการหัวร้อน แล้วก็พูดประมาณว่า “All I Try is ……………” และนั่นคือประโยคที่เข้าใจได้ง่ายที่สุดที่ผู้พูดอธิบายมา
  3. พยายามเขียนอธิบายไปเรื่อยๆ แล้วใช้ การ simplify ด้วย วลี “ in other word….” แกบอกว่า หลายครั้ง มันจะตัดประโยคด้านหน้าที่เคยเขียนไว้ยาวๆ ได้

--

--

Teerayut Hiruntaraporn
Teerayut Hiruntaraporn

No responses yet