จัดการความรุนแรงอย่างไรดี: ยูโร 2004 ที่โปรตุเกส
ในปี 2004 โปรตุเกสเป็นเจ้าภาพงานฟุตบอลยูโร ซึ่งเป็นงานที่ยิ่งใหญ่และมีคนรอดูเป็นจำนวนมาก ซึ่งรวมถึงตัวแสบจากประเทศอังกฤษในนามของฮูลิแกนที่ต้องสร้างความเดือดร้อน และทำลายข้าวของ โปรตุเกสจะแก้ปัญหานี้อย่างไร ??
ฮูลิแกนอังกฤษถึอเป็นของแสลงของคนชอบดูบอล เพราะเป็นพวกทำลายบรรยากาศ ทำลายข้าวของ ทำร้ายผู้คน
ในฟุตบอลยูโรครั้งก่อนที่ประเทศเบลเยี่ยม ทางเจ้าภาพได้มีการซักซ้อมการป้องกันฮูลิแกนเป็นอย่างดี และมีการเพิ่มงบประมาณในอุปกรณ์ควบคุมฝูงชนเพื่อความสงบเรียบร้อย
อย่างไรก็ตามการควบคุมก็ถือว่าล้มเหลวพอสมควร แฟนฟุตบอลอังกฤษถูกจับมากกว่า 1000 คน ถึงขนาดที่มีการจะทำเรื่องให้แบนทีมชาติอังกฤษออกจากการแข่งขัน
ในการเตรียมความพร้อมของประเทศโปรตุเกสในการมาของเหล่ากองเชียร์อังกฤษนั้น แน่นอนว่ามันคงจะเลี่ยงไม่ได้ที่พวกเขาจะมา จึงต้องมีการเตรียมความพร้อมต่างๆนานา ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ป้องกันฝูงชนต่างๆ
และก็มีการเตรียมพร้อมในอีกมุมหนึ่งโดนคำแนะนำของ คุณ Clifford Scott นักจิตวิทยาสังคมจากมหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล
โดยคุณสก็อตนั้นมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการศึกษาและวิเคราะห์การจลาจลในอดีต ในครั้งนี้เขาจะลองนำเอาทฤษฎีใหม่ของเขามาลองกัน
โดยหลักการของเขาคือ
การหยุดความรุนแรงโดยการลดสัญญาณความรุนแรงที่ส่งออกมาจากตำรวจหรือผู้คุมฝูงชน
แล้วสัญญาณความรุนแรงของที่ตำรวจส่งออกมาคืออะไร
- หมวกกันน็อคความคุมฝูงชน
- ไม้กระบอง
- แก๊สน้ำตา
- ชุดสีเหลือง
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ คือ สิ่งที่ส่งสัญญาณให้แฟนบอลมีการตอบสนองที่รุนแรง
โดยจากการศึกษาเบื้องต้นของเขาพบว่า 94% ของแฟนบอลที่ถูกจับนั้น ไม่มีประวัติอาชญากรรมใดๆ
เขาจึงเชื่อว่า
วิธีที่ตำรวจจะสามารถควบคุมการจลาจลได้นั้น คือการไม่เข้าไปจัดการการจลาจล
สิ่งที่เขาเริ่มคือการฝึกซ้อมเหล่าตำรวจโปรตุเกส
โดยเขาให้เก็บอาวุธควบคุมฝูงชนใดๆ ไม่ให้อยู่ในสายตาคน
มีทีมงานเจ้าหน้าที่ที่ใส่ ชุดสีฟ้า แทนที่ทีมเจ้าหน้าที่ควบคุมเดิมที่ใช้สีเหลือง
และมีการเลือกเจ้าหน้าที่เหล่านี้จาก Social Skill ไม่ใช่ความสามารถในการปราบจลาจล
นอกจากนี้ต้องมีการปรับนิสัยของตำรวจ ในการเข้าชาร์จแฟนบอลในกรณีทั่วไป เช่นการเตะฟุตบอลในที่สาธารณะ ซึ่งในหลายครั้งตำรวจจะรีบเข้าไปจัดการและยึดลูกฟุตบอลมา แต่คุณสก็อต ก็พยายามที่จะให้เจ้าหน้าที่อดทน และจะยึดได้ก็ต่อเมื่อลูกบอลพุ่งเข้ามาหาเท่านั้น
แน่นอนว่า วิธีการที่เขียนมานั้น เริ่มต้นไม่มีใครเชื่อแน่นอนว่า จะสามารถควบคุมฝูงชนได้ แล้วเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีอาวุธจะควบคุมมวลชนได้อย่างไร ถ้ามีปัญหา
อย่างไรก็ตามผลการเดิมพันนี้ก็ได้ผล ตลอดการแข่งขัน 3 สัปดาห์ ในบริเวณที่มีการใช้แนวทางของคุณสก็อต มีแฟนบอลถูกจับกุมเพียงคนเดียวเท่านั้น
ในบริเวณที่มีปัญหาก็จะเป็นบริเวณที่มีการใช้วิธีแบบดั้งเดิมในการจัดการ
ทำไมวิธีการนี้ถึงได้ผล ก็มีคำอธิบายว่า การทำแบบนี้เป็นการส่งสัญญาณที่จะบอกว่า เราสามารถอยู่ร่วมกันได้ ระหว่างตำรวจกับแฟนบอล การที่ตำรวจไม่ใส่เกาะหรืออุปกรณ์ต่างๆ ทำให้สัญชาติมันลดลง แม้กระทั่งการเตะบอลที่ตำรวจไม่ไปรีบจับ ก็ทำให้ความรู้สึกปลอดภัยเกินขึ้น
เหตุการณ์หนึ่งที่น่าสนใจคือในช่วงกลางงาน มีการกระทบกระทั่งกันระหว่างตำรวจที่ใส่เสื้อสีเหลือง กับแฟนบอลอังกฤษ ซึ่งท่าทางอาจจะจบด้วยความรุนแรง แต่ตัวแฟนบอลเอง กลับตะโกนเรียกตำรวจที่อยู่ในเสื้อสีฟ้า ให้มาช่วยเคลียร์แทน ทำให้ไม่เกิดความรุนแรงในที่สุด
ถึงตอนนี้แฟนบอลเชื่อใจตำรวจในชุดสีฟ้าแล้ว จึงไม่เกิดปัญหาอะไรที่รุนแรง เหมือนแบบเดิมๆ
อันนี้เป็นอีกมุมมองหนึ่งในเชิงพฤติกรรมนะครับ มีทฤษฎีหลายเรื่องที่อาจจะเอามาช่วยอธิบายเกี่ยวกับปรากฏการณ์นี้ได้พอสมควร
หลายครั้ง ที่มาของความรุนแรงอาจจะต้องมองดูให้รอบด้าน เพื่อสุดท้ายเราจะแก้ปัญหาให้สามารถอยู่ร่วมกันได้นั่นเอง
ที่มา
- The Culture Code: The Secrets of Highly Successful Groups, Daniel Coyle
- https://www.euractiv.com/section/sports/opinion/study-crowd-dynamics-policing-and-hooliganism-at-euro-2004