ภารกิจหาบอลลูนสีแดง
ในปี 2009 DARPA ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ได้จัดงาน The Red Balloon Challenge ขึ้นโดยเป็นการจำลองการจัดการปัญหายากๆ เช่น การค้นหาผู้ก่อการร้าย หรือโรคระบาด โดยกฏกติการคือ ทาง DARPA จะปล่อยบอลลูน มั่วๆ 10 ลูกทั่วอเมริกา แล้วใครที่หาบอลลูนได้ครบและแม่นยำที่สุดเป็นกลุ่มแรกจะเป็นผู้ชนะ ได้รับรางวัลเป็นเงิน 40000$
ซึ่งในการที่จะหาบอลลูนให้ครบทั้ง 10 ลูกในพื้นที่ 3.1 ล้านตารางไมล์ของอเมริกา ในมุมมองของนักวิเคราะห์ถือเป็นภารกิจที่เป็นไปไม่ได้เลยทีเดียว
มีหลายทีมที่ตอบรับการท้าทายนี้ และได้พยายามเอาเทคโนโลยีที่ทันสมัยในช่วงนั้นเช่น การนำเอา Search Engine มาค้นหาภาพจากดาวเทียมเพื่อติดตามบอลลูนเหล่านี้ หรือ Operเป็นต้น มาเตรียมตัวเพื่อใช้ในการค้นหาเจ้าบอลลูนเหล่านี้
อย่างไรก็ตาม ทีมที่ชนะในรอบนี้กลับเป็นทีมที่มีเวลาเตรียมตัวน้อยที่สุดและใช้อุปกรณ์ไม่ได้ทันสมัยมากอย่าง MIT Media Labs ที่สำคัญคือ มีเวลาเตรียมตัวไม่ถึง 4 วัน
ครั้งนี้เลยมาดูว่าทีม MIT Media Labs มีความคิดที่แตกต่างอย่างไรกับคนอื่น
เนื่องจากว่าทีมงานของ MIT Media Lab นั้นไม่ได้มีเวลาเตรียมตัวเยอะ เขาจึงเลือกใช้วิธีการที่ไม่เหมือนคนอื่น
โดยเขาได้สร้างเว็บไซต์ขึ้นมา โดยภายในเว็บไซต์มีเนื้อหาประมาณว่า
จะให้ personal link กับทุกคน และทุกคนสามารถเชิญเพื่อนมาร่วมได้ และถ้าเพื่อนชนะคุณก็ชนะด้วย
โดยจะให้รางวัลกับผู้เจอบอลลูน 2000$ ต่อบอลลูน สำหรับคนแรกที่มีพิกัดที่ถูกต้อง นอกจากนี้เพื่อนที่ invite จะได้รับเงิน 1000$ → 500$ → 250$ → ไปเรื่อยๆ
จากที่เห็นคือ หลักการของทีมนี้คือ บอกคนอื่นๆว่า ถ้าเจอ ช่วยผมหน่อย
เมื่อทีมงานได้ทำการเปิดเว็บไซต์ขึ้นมาในวันก่อนหน้าวันสมัคร 2 วัน ก็มีผู้คนมาสมัครมากมาย
และเมื่อการแข่งขันเริ่มขึ้นในวันที่ 5 ธันวาคม ทีมงานของ MIT Media Lab สามารถหาบอลลูนได้ครบสิบลูก ด้วยเวลา
8 ชั่วโมง 52 นาที 41 วินาที
จากการประมาณเบื้องต้นว่าน่าจะครบกันได้ในสัปดาห์ โดยได้ความช่วยเหลือจากคน 4,665 คน ทั่วอเมริกา
สิ่งที่ ทำให้ทีมของ MIT Media Lab มีความแตกต่างจากทีมอื่นๆ คือ
ขณะที่ทีมคือคือ การแข่งขันที่ถ้าเข้ามาแล้วอาจจะชนะ นั่นคือมีคนที่ได้และ ไม่ได้
ทีมนี้กลับแสดงให้เห็นว่า ถ้ามาร่วมกับเรา เราจะชนะด้วยกัน จะมากจะน้อยก็แล้วแต่
จุดสำคัญอีกจุดหนึ่งคือ
การที่ทีมงานได้เปิดเผยสิ่งที่เรียกว่า ความอ่อนแอหรือข้อบกพร่อง (Vulnerability) ออกมา ทำให้ตัวเขาเองเปิดรับความช่วยเหลือ และให้ความไว้วางใจผู้อื่น
เมื่อใดที่เราต้องการสร้างความร่วมมือ vulnerability จะกลายเป็นสิ่งที่จำเป็นทางจิตวิทยาขึ้นมา
ดังนั้น ความอ่อนแอ จุดบกพร่อง บางครั้ง ก็ไม่ได้ มีแต่มุมลบเพียงด้านเดียว แต่มันก็มีมุมที่ทำให้เกิดความเชื่อใจ และความร่วมมือกันได้ด้วยเช่นกัน
ที่มา
The Culture Code, Daniel Coyle