สำรวจสถิติเที่ยวบินกรุงเทพ-นาริตะ
พอดี วันนี้ มีมาม่า ที่ชอบไปยุ่งกับสายการบินแห่งชาติ ซึ่งจริงๆ ดูเขาก็ไม่ได้เกี่ยวอะไรด้วย เลยเอาข้อมูลของ FlightRadar24 มาทำสถิติอะไรเล่นนิดนึง
คำถามในวันนี้คือ การบินไทย ช้าจริงไหม
ในการนี้ ด้วยความรวดเร็ว เลยหยิบข้อมูลจาก flightradar24 มา เฉพาะ เที่ยวบินระหว่าง กรุงเทพฯ (BKK) กับ นาริตะ (NRT) ย้อนหลังเท่าที่ของฟรีจะให้ได้ จากนั้นก็เอาไปเล่นแร่แปรธาตุ ด้วย Numbers กับ Excel นิดหน่อย เป็นอันเสร็จพิธี
ปล. อ้างอิงเที่ยวบิน 6 สาย ระหว่าง วันที่ 14–21 ธันวา เฉพาะเที่ยวบิน กรุงเทพฯ — นาริตะ เท่านั้น จึงไม่มี Majority Significant ใดๆ ในการ implication ผลงานของทุกสายการบิน ไม่ควรนำไปใช้อ้างอิงหรือตัดสินใดๆ
โดยข้อมูลในนี้จะประกอบด้วย
- XJ600 เที่ยงกลางคืน ตั้งแต่วันที่ 15–21 ธันวาคม 2022
- NH806 เที่ยวเช้า ตั้งแต่วันที่ 15–21 ธันวาคม 2022
- TG676 เที่ยวเช้า ตั้งแต่วันที่ 15–21 ธันวาคม 2022
- JL708 เที่ยวเช้า ตั้งแต่วันที่ 15–21 ธันวาคม 2022
- ZG52 เที่ยงกลางคืน ตั้งแต่วันที่ 16–20 ธันวาคม 2022
- TG642 เที่ยงกลางคืน ตั้งแต่วันที่ 14–20 ธันวาคม 2022
ภาพรวม
อย่างแรกสุดคือ
โดยเฉลี่ยทุกเที่ยวบิน จะใช้เวลาประมาณ 5:05 นาที ในการเดินทาง แต่ส่วนใหญ่จะ Spare Estimated Time ไว้ที่ 5:40- 5:55 จะมี XJ ที่จะ Spare ไว้ ที่ 6:10
เที่ยวบินขาออก จะล่าช้าโดยเฉลี่ย 48:45 นาที แต่ไปถึงที่หมาย เฉลี่ยช้ากว่าที่วางแผนไว้ 1:45 นาที
ออกกลางคืน vs ออกกลางวัน
จากข้อมูลพบว่า กลางคืนช้ากว่ากลางวัน 10 นาที โดย
เวลากลางคืน จะออกล่าช้าเฉลี่ย 55 นาที ถึงที่หมายล่าช้า 8:58 นาที
ขณะที่กลางวัน จะออกล่าช้าเฉลี่ย 42:33 นาที ถึงที่หมายเร็วกว่ากำหนด 5 นาที
สายการบิน
ทีนี้ก็มาถึงเฉลี่ยตามสายการบินบ้าง
พบกว่า
JL ออกล่าช้า 32.14 นาที ถึงที่หมายเฉลี่ยเร็วกว่ากำหนด 12.14 นาที
NH ออกล่าช้า 42.43 นาที ถึงที่หมายเฉลี่ยเร็วกว่ากำหนด 7.29 นาที
TG ออกล่าช้า 54:93 นาที ถึงที่หมายเฉลี่ยล่าช้า 9 นาที
XJ ออกล่าช้า 47.29 นาที ถึงที่หมายเฉลี่ยเร็วกว่ากำหนด 5:57 นาที
ZG ออกล่าช้า 63:20 นาที ถึงที่หมายเฉลี่ยล่าช้า 21:40 นาที
ความเห็นส่วนตัว
- อย่าใช้ไปอ้างอิงภาพรวมทั้งหมด ว่า สายการบินนี้ช้า เพราะในช่วงเวลานี้ มีสายการบินที่อาจจะเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติทำให้ ค่าเฉลี่ย ไม่สมดุลย์จริงๆ ถ้าจะทำคงต้องมีข้อมูลที่ยาวนานกว่านี้ ในการตรวจสอบ แค่ที่มีก็น่าจะพอเห็นอะไรได้ไม่มากก็น้อย
- เที่ยวบินไหนคนเยอะ delay ก็มากตาม อันนี้อาจจะไม่มีสถิติที่ชัดเจนว่า คนบ้านเรา ใช้ Flight ไหนเยอะเป็นตัวเลข แต่ จากข้อมูลใน social หลักๆ ก็จะเป็น สายการบินแห่งชาติ และ Low Cost ทั้งสอง ขณะที่ พี่ญี่ปุ่น Full Service อยาง ANA, JAL ราคาโดยเฉลี่ยจะสูงกว่า สามสายแรกอยู่ (JAL ใกล้ๆ TG แต่ ANA ถือว่าไม่ธรรมดา )
อย่าง TG เองถ้าใครเรียนเรื่อง Operation Management เห็นตอน check-in ที่สุวรรณภูมิ ก็แอบนับถือนะ ว่ารับคนขนาดนั้น ยัง Process ให้ทันเวลาได้ - เที่ยวเช้าคุมเวลาได้ดีกว่าช่วงกลางคืน ด้วยความที่หลายคนก็มองว่า ถ้าไปช่วงเช้า มันไม่คุ้น ไปถึงญี่ปุ่นก็เย็นแล้ว ทำอะไรไม่ได้เยอะ เลยนิยมไปกลางคืนมากกว่า อาจจะมีความแออัดน้อยกว่า เลยสามารถควบคุมเวลาอะไรได้ง่ายกว่า
- AirAsia ถ้าตั้ง Estimated Arrival Time เท่าๆ กับคนอื่น จะ Delay ขาเข้า พอๆ กับการบินไทย อันนี้น่าสนใจมาก ซึ่งในมุมนี้ส่วนตัว นับถือคนวาง Estimation ที่วางแล้ว ได้ภาพที่ดีในการเป็นสายการบินที่ตรงเวลา เพราะจากข้อมูลช้าแค่ 2 วัน แต่ถ้าเปลี่ยน estimated time จะกลายเป็นว่า AirAsia มีตรงเวลาแค่ 2 วันทันที
- ZipAir จริงๆ เขาทำตามมาตรฐานนะ แต่มีวันนึงที่โชคร้าย เครื่อง Delay ไป 2 ชม. ซึ่งมากพอที่ทำให้ AVG เขาเสีย
- JAL กับ ANA ไม่มีอะไรจะพูดกับเขา พวกนี้เกินค่าเฉลี่ย 1–2 SD
- TG จริงๆ ต้องให้กำลังใจเขาด้วยนะ มันมีปัจจัยหลายๆ อย่าง ที่จะเกิดเฉพาะกับ เช่น เป็นสายการบินหลักของคนไทยโดยเฉพาะคนใช้ทัวร์ทำให้คนเยอะกว่าชาวบ้าน ผู้โดยสารบางคนจะไม่ค่อยเกรงใจ เหมือน พวก JAL หรือ ANA เครื่องที่ไป ก็อยู่หลุมจอด เสียเวลามากกว่า เครื่องอื่นๆ ที่มีงวงต่อเลย แล้วยิ่งถ้าเป็นช่วงกลางคืน ที่ผู้โดยสารมาช้า จะยิ่งวุ่นวายมาก
- อย่าลืมว่าช่วงนี้ยังเหมือนเป็นช่วง “เที่ยวล้างแค้นอยู่” ปริมาณคนเที่ยว ไม่สัมพันธ์กับปริมาณบริการที่มี ซึ่งน่าจะดีขึ้นใน 6 เดือนข้างหน้า เดี๋ยวค่อยมาดูกันอีกที
สุดท้าย เอาข้อมูลรายละเอียด มาให้ดูเผื่อผู้ใดสงสัยครับ
สรุป ตอบคำถามข้างบน ที่ว่าการบินไทยช้า ไหม ก็คงตอบว่าช้า แต่ช้าแบบทุกเจ้าก็ช้ากันหมด เร็วสุดคือ JAL ซึ่งเร็วกว่าเฉลี่ย 10 นาที ดังนั้นปัญหาอาจจะไม่อยู่ที่สายการบินก็ได้นะ…