หรือ Layoff อาจจะเป็น new normal

Teerayut Hiruntaraporn
1 min readJan 19, 2021

--

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คิดเอาเอง จากการไปนั่งฟังเขาเล่าหนังสือ 2 เล่ม คือ No Rules Rule และ The Hard Thing about Hard Things.

ในสังคมบ้านเรา มันเป็นอะไรที่ยากมาก ในการที่จะไปเชิญใครออก ถ้าคนๆ นั้นทำงานกับเรามานาน คนๆนั้นไม่ได้ทำอะไรผิดพลาด หรือบางคนอาจจะเป็นระดับ Gate Keeper ซึ่งออกไม่ได้ อย่างมากสุดก็มักจะใช้ Benefit & Compensation ในการกดให้ให้ออกซะมากกว่า

อย่างไรก็ตาม ในหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการจัดการองค์กร ทีม ในช่วงหลังๆ มันจะแสดงผลเสียของการรักษาคนที่ไม่ควรจะอยู่ในองค์กร แล้วจะยังให้อยู่ต่ออีก เช่น

ความเชื่อที่ว่า คนแย่ๆ อยู่ในกลุ่มคนดีๆ จะทำให้คนแย่ๆ กลายเป็นคนดี แต่หลายๆครั้ง คนดีๆ กลับถูกดึงลงไป ตามแรงจูงใจที่ว่า ถ้าคนแย่ยังอยู่ได้ แล้วเราจะทำดีไปทำไม

โดยเฉพาะกลุ่มที่เรียกว่า Toxic Person การรักษาคนประเภทนี้ด้วยเหตุผลต่างๆ เช่น การอยู่นาน หรือพูดจาดี ส่งผลให้คนที่สร้างผลงานดีๆ ออกจากบริษัทแทน

อย่างไรก็ตาม การมาของหนังสือ 2 เล่มของ Netflix คือ Powerful และ No Rules Rule นำพอแนวคิดที่สุดโต่งกว่าเดิมเกี่ยวกับการรักษาพนักงาน

นั่นคือ การมี Talent Density ซึ่งเป็นทั้งคนที่เก่งและดี

ในมุมหนึ่งคือ ไม่มีที่ว่างให้กับคนธรรมดา

ทั้งนี้ เพราะเขาเชื่อว่า ในมุมของโลกของ Creative คนเก่งสามารถสร้างประสิทธิภาพมากกว่าคนธรรมดาประมาณ 10–50 เท่า ในขณะที่โลกของ Operation คนเก่งอาจจะสร้างประสิทธิภาพมากกว่าคนธรรมดา 2–3 เท่า

ประกอบกับสถานการณ์ในช่วงปัจจุบัน ที่มี Covid-19 และเศรษฐกิจฝืดเคือง ซึ่งเรียกกว่าเป็น Hard Time หรือ War Time อะไรก็แล้วแต่

ด้วยความจำเป็นที่บีบคั้น เจ้าของบริษัท ก็จะต้องรักษาบริษัท รักษาพนักงานที่มีค่าของเขา แต่ก็ต้องยอมรับว่า ทรัพยากรในช่วงนี้จำกัด ก็ไม่อาจจะรักษาพนักงานได้ทุกคน

เพราะถ้าสถานการณ์เลวร้าย การรักษาพนักงานทุกคน อาจจะไม่สามารถรักษาใครได้เลย

สิ่งที่แอบคิดหลังจากนี้คือ

  1. ผู้นำองค์กร จะคิดเล็กคิดน้อยเรื่องการไล่คนออกน้อยลง หลังจากผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ไป
  2. ถ้าองค์กรไหนเอาคนออกไปแล้วผลงานดีขึ้น ผู้นำองค์กรจะเข้าใจสิ่งที่ Reed Hastings พูดเกี่ยวกับเรื่อง Talent Density มากขึ้น และอาจเริ่มปรับมาตรฐานพนักงานให้สูงขึ้น
  3. ในบ้านเราคงจะเริ่มต้นที่การเอาคนต่ำกว่ามาตรฐาน หรือ Toxic People ออกก่อน จากนั้นจะค่อยๆ ขยับมาตรฐานขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลา
    มีองค์กรน้อยมากที่จะกล้าหักดิบไล่คนกลางๆ ออก แนวทางที่เป็นไปได้ น่าจะเป็นการกำหนดเวลาให้พัฒนาตัวเองให้ได้มาตรฐานที่บริษัทต้องการ ภายใน 1–2 ปี มากกว่า

ในอนาคตอันใกล้ บ้านเราอาจจะไม่ได้ตกใจกับการ Lay off กันบ่อยๆ อีกต่อไป

นัยยะของการ Lay off ก็จะเปลี่ยนไป จากความรู้สึกที่ว่า คนที่โดน Lay off ต้องบกพร่องอะไรบางอย่าง จะกลายเป็นเพียงแค่ความไม่เหมาะสมกันระหว่างคนกับองค์กร

สุดท้ายนี้ คนทำงานก็จะต้องมีแนวคิดในการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง และสร้างความปลอดภัยทางอาชีพด้วยตัวเอง ซึ่งอาจจะเป็นการ reskill สร้างอาชีพที่สองใหม่หรือ upskill ที่ถนัดเพื่อให้อยู่เหนือมาตรฐานตลาด

--

--

Teerayut Hiruntaraporn
Teerayut Hiruntaraporn

No responses yet