อย่าชื่นชมความฉลาดให้มากนัก

Teerayut Hiruntaraporn
1 min readJan 11, 2021

--

วันนี้ได้อ่าน Blog ของคุณ Luca Rossi เรื่อง Why You Should Develop a Growth Mindset in Your Team มีเรื่องนึงที่ดูน่าสนใจ

เขาเขียนว่าคุณ Carol Dweck ซึ่งเป็นผู้เขียนหนังสือเรื่อง Mindset เคยแนะนำเรื่องนึงคือ

อย่ายกย่องความฉลาด (Intelligence)

ในขณะที่ในสังคมเรามักจะนิยมความฉลาดกัน และชื่นชอบที่จะเชิดชูคนเหล่านั้น ทำไมอาจารย์ Carol ถึงไม่อยากให้ยกย่องโดยเ​ฉพาะกับเด็ก

อาจารย์บอกว่ามี 2 เหตุผล

  1. เราทำให้มันเติบโตไม่ได้
  2. มันไม่ได้อยู่ในการควบคุมของเรา

ส่วนตัวเห็นว่า คนเราโดยปกติมันจะไม่ได้คนที่วัดว่าตัวเองฉลาดแค่ไหน คำว่าเราฉลาดหรือเราโง่ โดยปกติมันมักไม่ได้เกิดจากการวัดผลของตัวเราเอง มักจะเกิดจากที่คนอื่นมาบอกว่าเราฉลาดหรือโง่ อาจจะเป็นเหตุผลที่บอกว่ามันไม่อยู่ในการควบคุม และมันโตไม่ได้ก็เป็นได้

แล้วทีนี้มันส่งผลยังไงถ้าเราชมคนด้วยความฉลาด

จากที่อาจารย์แครอลศึกษาดู พบว่าเด็กที่ถูกชื่นชมในมุมมองด้านความฉลาด ในระยะยาวอยากจะได้รับคำชมว่าฉลาดต่อไป โดยเขาจะพยายามอยู่กับ skill เดิมๆ ที่เขาดูดี,​หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้เขารู้สึกดูไม่ฉลาด , มีความพยายามในการแก้ปัญหาหรือเพิ่มเติมความสามารถใหม่ๆ น้อย และมีความมั่นใจในความสำเร็จต่ำลง

ซึ่งในภาพรวมคือคือ เขาจะพยายามที่จะทำให้คนอื่นเห็นความฉลาดของเขาและปกป้องสถานะความฉลาดของเขา มากกว่าที่จะเรียนรู้และเติบโต

ดังนั้นอาจารย์เลยแนะนำให้ ชื่นชมในความตั้งใจหรือความพยายามแทน โดยให้ค่ากระบวนการที่เด็กทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความตั้งใจจดจู่ ความอดทนพยายาม การวางแผน หรือพัฒนาการ จะสามารถเพิ่มแรงจูงใจการการพัฒนาและเติบโตต่อไปได้

ตรงนี้ส่วนตัวก็แอบนึกถึงสิ่งหนึ่งในหนังสือเรื่อง No Rules Rule ในตอนที่ว่าในการตัดสินใจใดๆ ของพนักงาน ตัวของ Reed Hasting จะเชื่อว่าเขาตัดสินใจมาดีแล้ว ถ้าพนักงานคนนั้นไปคุยขอความเห็นกับคนอื่นมากๆ นี่อาจจะเป็นตัวอย่างหนึ่งของการชื่นชมกระบวนการ เพราะมันทำให้วิธีการคิดของคนพัฒนาทำให้ พนักงานกล้าที่จะออกไปถามหาความเห็นหลายๆอันจากเพื่อนร่วมงานที่จัดว่าเป็นหัวกะทิในบริษัท

ที่นี้มันอาจจะเป็นการยากที่จะคิดประโยคว่าจะพูดอย่างไรเพื่อที่จะเป็นการชื่นชมในความพยายาม ผมเลยขอ copy ประโยคมาอ้างอิงเลยหล่ะกัน

  • You really studied for your English test, and your improvement shows it. You read the material over several times, outlined it, and tested yourself on it. That really worked!
  • It was a long, hard assignment, but you stuck to it and got it done. You stayed at your desk, kept up your concentration, and kept working. That’s great!

หรือในกรณีที่ผลงานออกมาไม่ดี

  • I liked the effort you put in. Let’s work together some more and figure out what you don’t understand.

ในขณะที่ถ้าเจอคนที่แบบว่าปัญหานี้ดูง่ายไป

  • All right, that was too easy for you. Let’s do something more challenging that you can learn from.

สุดท้ายบทสรุปของอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องความฉลาดคือ

สมองก็เหมือนกล้ามเนื้อ ยิ่งออกกำลังบ่อยยิ่งแข็งแกร่ง

และทุกครั้งที่ได้ลองอะไรท้าทายหรืออะไรใหม่ๆ สมองจะสร้างจุดเชื่อมต่อใหม่ๆ เพื่อให้ฉลาดมากขึ้น

ความฉลาดเกิดการการสร้างจุดเชื่อมต่อใหม่ๆ ที่เกิดจากความตั้งใจพยายามและการเรียนรู้

วันนี้เราเรียนรู้อะไรเพิ่มเติมกันหรือยังครับ ?

ที่มา

  1. https://refactoring.fm/p/why-you-should-develop-a-growth-mindset
  2. http://mereworth.kent.sch.uk/wp-content/uploads/2015/04/growth_mindsets_dweck-praise-effort.pdf

--

--

Teerayut Hiruntaraporn
Teerayut Hiruntaraporn

No responses yet