เกมลงขัน

--

เรื่องนี้มาจากหนังสือ พฤติกรรมพยากรณ์ของ Dan Ariely ครับ

สมมติว่า มีตัวคุณและคนอื่นรวมทั้งหมด 4 คน โดยทุกคนจะได้รับเงินเก็บไว้คนละ 10 ดอลล่าร์ และก็เสนอโอกาสที่จะได้เงินเพิ่ม คือ ถ้าทุกคนเอาเงินมาวางไว้กองกลาง โดยจะเป็นจำนวนเท่าไหร่ก็ได้ เงินทั้งหมดที่วางบนกองกลางจะถูกเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าและแบ่งจ่ายให้แต่ละคนเท่าๆกัน

สมมติว่าถ้าทุกคนลงกันหมด 10 ดอลล่าร์ ทุกคนก็จะได้เงินกลับมาเป็น 20 ดอลล่าร์

ทีนี้สมมติว่า ถ้าคุณลงเงินทั้งหมด 10 ดอลล่าร์ และคิดว่าทุกคนจะทำแบบเดียวกัน แต่สุดท้ายกลับได้กลับมา 15 ดอลล่าร์ ซึ่งค้นพบว่า มีคนนึงไม่ลงเงินมา ทำให้เมื่อเงินมารวมกัน จะได้ 60 บาท แต่ก็ต้องหาร 4 จะได้คนละ 15 ดอลล่าร์ โดยที่คนไม่ยอมลงเงิน จะได้เงินรวมถึง 25 ดอลล่าร์​

ทีนี้คุณและคนอื่นเลยลดการลงเงินลง เหลือ 4 ดอลล่าร์ ซึ่ง เมื่อรวมแล้ว สรุปว่าจะได้มาคนละ 6 ดอลล่าร์ ซึ่งสุดท้ายเจ้าคนที่ไม่ได้ลงอะไรมันก็ยังได้อยู่ รวมกันแล้ว ก็ได้เป็น 16 ดอลล่าร์ ซึ่งมากกว่าพวกเราที่ 12 ดอลล่าร์อยู่ดี

สุดท้ายทุกคนเลยไม่ลงเงินเลย ซึ่งก็จะไม่มึใครได้อะไรเลยฃ

ประเด็นที่ได้จากเรื่องนี้

เรื่องนี้มีจุดสำคัญอยู่ 2 เรื่อง เรื่องแรกคือ ถ้าทุกคนร่วมมือกันก็จะเกิดความเชื่อใจและประโยชน์อย่างถ้วนหน้า แต่ถ้ามีไม่ร่วมมือกัน ความเชื่อใจก็หายไปแล้วก็จะสูญเสียประโยชน์กันทุกฝ่าย แน่นอนรวมถึงฝ่ายคนที่เห็นแก่ตัวในตอนแรกด้วย

ซึ่งส่วนนี้ทางผู้เขียนจะเรียกมันว่าโศกนาฏกรรมของสาธารณะสมบัติครับ โดยกองกลางก็เปรียบเสมือนสาธารณะสมบัตินั่นเอง

เรามักจะเห็นเหตุการณ์นำไปสู่อะไรเทือกนี้ เช่น ในช่วงนึงที่ภาคใต้ของเรานักท่องเที่ยวเยอะมาก ก็จะมีเรือที่ชอบแอบพานักท่องเที่ยวไปในโซนที่ห้ามเข้า หรือ ไปจับสัตว์น้ำ หรือฉกปะการัง ซึ่งก็นำไปสู่ความเสื่อมโทรมของสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นแหล่งรายได้ของเขาเหล่านั้น

หรือแม้กระทั่งการขับรถฝ่าไฟแดงหรือขับรถที่ไหล่ทาง เมื่อคนไม่เชื่อว่าการขับรถแบบถูกต้องทำให้เขาเสียประโยชน์ ก็จะทำให้เขาเหล่านั้น ขับรถผิดที่ผิดทางมากขึ้น และนำไปสู่อุบัติเหตุและความล่าช้าที่มากขึ้นเช่นเดียวกัน

กรณีของ Netflix ที่จะรักษาความเชื่อใจภายในองค์กร

ในหนังสือ No rules rule จะมีเรื่องนึงที่ผู้คนค่อนข้างอะฮือฮา คือการของเบิกเงินของพนักงาน ที่เขาบอกว่า ให้พนักงานเป็นผู้ตัดสินใจเองโดยยึดประโยชน์ของ Netflix เป็นที่ตั้ง (in Best Interest of Netflix)

นี่ก็เป็นเคสที่ดูเหมือนจะมีทรัพย์กองกลางอยู่ แต่ Netflix ก็สามารถควบคุมได้ดี

สิ่งที่เขาทำก็คือ ถ้าใครไม่สามารถอธิบายการเบิกใช้เงินให้เหมาะสมได้ ไล่ออก และจะมีการประกาศอย่างเป็นทางการ ในเคสพวกนี้

หรือในอีกมุมคือผู้เอาเปรียบจะโดนการลงโทษที่หนักเพียงพอที่จะไม่ให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบอีก

ซึ่งส่วนตัวว่า นี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ค่าปรับในต่างประเทศจำเป็นที่จะต้องสูง เพราะจะได้ให้คนเราชั่งน้ำหนักได้ด้วยตัวเองว่ามันไม่คุ้มที่จะทำแน่นอน

ที่มา

  1. พฤติกรรมพยากรณ์, Dan Ariely
  2. No Rules Rules : Netflix and the Culture of Reinvention, Reed Hastings , Erin Meyer

--

--

Teerayut Hiruntaraporn
Teerayut Hiruntaraporn

No responses yet