เบื้องหลัง Pit Stop ที่แม่นยำ
Pit Stop เป็นกระบวนการสำคัญกระบวนการหนึ่งในการแข่งขันรถฟอร์มูล่าวัน โดยมีจะมีคนประมาณ 20 กว่าคน มารับรถที่จอด เปลี่ยน ล้อ เติมน้ำมัน โดยทั้งหมดนี้ใช้เวลารวดเร็วมาก ในปัจจุบันโดยเฉลี่ยน่าจะอยู่ที่ประมาณ 2 วินาที (สามารถดูตัวอย่างได้จากคลิปด้านล่าง)
ในสารคดี Formula one documentary — Pit Stop in two second และได้อธิบายเบื้องหลังอยู่โดยจะหลักๆ จะเป็นเรื่องของด้านวิศวกรรมและทีมเวิร์ค
โดยในด้านวิศวกรรมคือการพัฒนาอุปกรณ์ให้มีความผิดพลาดน้อยลง เช่นตัวเครื่องสกรูในปัจจุบัน ถูกพัฒนาให้เป็นเบ้า เพื่อให้เข้ากับช่องล้อพอดี เวลาใช้จะได้ไม่ต้องไปเล็ง ตำแหน่งของตัวล็อกล้อ ให้เสียเวลา ซึ่งในส่วนนี้ก็สามารถลดเวลาได้ในระดับหนึ่ง
แต่ส่วนที่สำคัญมากคือเรื่องของทีมเวิร์ค โดยพนักงานแต่ละคนจะต้องรู้หน้าที่ของตัวเองอย่างชัดเจนว่าในส่วนนั้นเขาต้องทำอะไร โดยลักษณะงานจะเป็นงานที่ไม่ต้องคิดเยอะ แต่อาศัยความเชี่ยวชาญและความเร็ว
ซึ่งในการจะทำให้มีความแม่นยำและความเร็วได้ ก็จะต้องมีการฝึกซ้อม
การฝึกซ้อม Pit Stop จะมีการทำทุกวัน ทุกครั้งที่ทำก็จะมีโค้ช และมีการบันทึกและวิเคราะห์การซ้อมในทุกๆ ครั้ง เพื่อที่จะปรับท่าทางของคนในทีม ให้ดีขึ้นและลดเวลาได้มากขึ้น โดยในแต่ละ Session อาจจะทำกันมากกว่า 50 ครั้ง (ตัวอย่างนี้มาจากรายการ Guy Martin Proper ซึ่งเข้าไปลองซ้อมดู )
นอกจากการฝึกซ้อมการทำ Pit Stop แล้ว Strength Training ก็เป็นสิ่งที่จำเป็น อุปกรณ์เช่นล้อ เป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างหนัก ถ้ามี Movement ที่ไม่ถูกต้องอาจะทำให้ไม่คล่องตัวในการทำงาน และอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บได้
ดังนั้น Strength Training จึงจะเน้นในเรื่องของ Form และ Mobility เพื่อให้การเคลื่อนไหวไม่สะดุด และป้องกันอาการบาดเจ็บ
ในกระบวนการซ้อมทุกอันจะมีส่วนของ PDCA มาเกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาการทำ Pit Stop ให้ดีขึ้นเรื่อยๆได้
ส่งท้าย
ในเบื้องหลังของการทำ Pit Stop ที่รวดเร็วนั้นประกอบด้วย
- พื้นฐานที่ดี (ในที่นี้คือความแข็งแรงและ Mobility ของร่างกาย)
- การฝึกซ้อมอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดความชำนาญอย่างยิ่งยวด
- การพัฒนาอย่างต่ำเนื่องจาก Feedback ต่างๆ เช่น PDCA
ส่วนตัวเชื่อว่าแนวคิดนี้สามารถนำไปใช้ในกรณีทั่วไปได้ หวังว่าจะได้ลองไปใช้กันครับ