เพลงที่คนญี่ปุ่นเปิดตอนจะปิดร้าน

Teerayut Hiruntaraporn
1 min readJan 12, 2021

--

ประเทศญี่ปุ่นเป็นหนึ่งในจุดมุ่งหมายของคนไทยในการเดินทาง และแน่นอนกิจกรรมที่คนไทยมักจะชอบทำกันเมื่อไปญี่ปุ่นกิจกรรมหนึ่งก็คือการช็อปปิ้งสินค้าตามร้านค้าต่างๆ ซึ่งเราก็สามารถช็อปกันตั้งแต่สายๆยาวๆ ไปถึงเวลาประมาณ 3 ทุ่ม

เมื่อถึงช่วงเวลาก่อน 3 ทุ่มสักประมาณ 10 นาที จะมีเพลงเพลงหนึ่งที่มีทำนองคุ้นหูมากดังขึ้นมา ถ้าใครไปญี่ปุ่นบ่อยๆ ก็จะพอทราบว่าเมื่อเพลงนี้ขึ้นมา จะรับรู้ได้ว่าถึงเวลาที่จะปิดร้านกันแล้ว ซึ่งทำนองเพลงที่ว่านั้นคือทำนองของเพลง Auld Lang Syne นั่นเอง

แน่นอนพวกเราหลายคนก็จะสงสัยว่า ทำไมคนญี่ปุ่นถึงเปิดเพลง Auld Lang Syne หรือบ้านเราจะเป็นสามัคคีชุมนุมกันนะ

Auld Lang Syne

แต่ก่อนอื่นมารู้จักเพลง Auld Lang Syne กันก่อน เพลงนี้จริงๆ แล้วเป็นบทกวีภาษาสก็อตฯ ซึ่งแต่งโดย Rober Burns ในปี 1788 และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

ผู้คนมักจะเปิดเพลงนี้ในช่วงวันส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ ทั้งนี้ตามความหมายของชื่อเพลง ที่หมายถึง old long since หรือ The old days เป็นวันที่เพื่อนเก่าจะมารวมตัวกันเพื่อดื่มและสังสรรค์ ในวันที่ผ่านไป

อย่างไรก็ตามเพลงนี้ยังถูกใช้ในกิจกรรมอื่นๆ เช่น การจบการศึกษา งานศพ หรือปิดกองลูกเสือ เป็นต้น

จาก Auld Lang Syne สู่ 蛍の光 (Hotaru no Hikari)

ประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งญี่ปุ่นเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ เมืองพังพินาศย่อยยับ จำเป็นต้องฟื้นฟูประเทศกลับมา จึงได้มีการศึกษานำเอาวิทยาการของตะวันตก โดยเฉพาะอเมริกา ซึ่งรวมถึงดนตรีด้วย

Chikai Inagaki เป็นผู้ปรับเปลี่ยนเพลงนี้ ให้กลายเป็นภาษาญี่ปุ่น มีคำร้องที่สวยงามในชื่อของ Hotaru no Hikari (ถ้าแปลภาษาไทยก็ประมาณ แสงของหิ่งห้อย) และได้นำไปร้องในโรงเรียนช่วงปี 1881

http://mytwoyenworth.blogspot.com/2007/01/speaking-of-poetry-today-is-robbie.html

แล้วทำไมต้องเป็นแสงจากหิ่งห้อย ในเนื้อเพลงกล่าวถึงการเรียนของนักเรียนที่ต้องใช้ไฟจากหิ่งห้อยและแสงจันทร์ในการอ่านหนังสือ และเมื่อผ่านไปเป็นเดือนเป็นปี ก็ถึงเวลาลาจาก ออกจากโรงเรียน เพื่อเดินทางไปในก้าวต่อไป

ซึ่งก็สอดคล้องกับสภาพของประเทศในช่วงเวลานั้น โดยเพลงๆนี้ ให้ความหมายอยู่ดังนี้ครับ

  1. ตอนนี้ถึงเวลาที่จะต้องจากกันแล้ว
  2. สันติภาพและอนาคตที่สดใสของประเทศ

ดังนั้น ส่วนตัวเห็นว่า การใช้เพลงนี้ เพื่อที่จะแสดงว่า วันนี้เราต้องจากกันแล้ว และวันพรุ่งนี้เราจะดีกว่าเดิม

เราจึงมักจะเห็นเพลงนี้อยู่ในคอนเสิร์ตใหญ่อย่าง Kouhaku Uta Gassen ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ส่งท้ายปีของช่อง NHK และเพลงนี้จะเล่นเป็นเพลงสุดท้ายเสมอ

ว่าแต่มันเริ่มที่เปิดเพลงนี้เมื่อไหร่ ตอบตรงๆ จากข้อมูลทางญี่ปุ่นก็จำความไม่ได้ ก็มีสมมติฐานอยู่มากมายครับ อันนึงที่ดูเป็นไปได้คือ การรับมาจากภาพยนตร์เรื่อง Waterloo Bridge ซึ่งมีการใช้เพลง Auld Lang Syne ในอีกจังหวะนึง และใช้ชื่อว่า Farewell Waltz

ส่งท้าย

Hotaru no Hikari ถูกใช้มาเป็นเพลงปิดกิจกรรม ด้วยความหมายตามเนื้อหาของเพลง นอกจากนี้ในเพลงยังแฝงกำลังใจในการทำงานและดำเนินชีวิตสู่อนาคตอีกด้วย

ที่มา

  1. https://www.vox.com/2015/12/31/10685188/auld-old-lang-syne-meaning-lyrics
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Auld_Lang_Syne
  3. https://www.pri.org/stories/2015-06-19/why-do-japanese-stores-play-auld-lang-syne-when-they-close-answer-wont-shock-or
  4. https://www.reddit.com/r/japan/comments/93rkcu/how_did_auld_lang_syne_become_the_song_every/
  5. https://en.wikipedia.org/wiki/Hotaru_no_Hikari

--

--

Teerayut Hiruntaraporn
Teerayut Hiruntaraporn

No responses yet