แนวทางการเลือกวิธีแก้ปัญหา

--

จากเรื่องไอเดียการหาสาเหตุในการแก้ปัญหาในครั้งก่อน เมื่อเราได้ทราบว่าเราจะจัดการกับสาเหตุของปัญหาอะไรแล้ว เราก็จะมาทำการหาแนวทางแก้ปัญหาและวิเคราะห์กันว่า จะไปท่าไหนดี

การหาแนวทางแก้ปัญหา

วิธีที่ง่ายที่สุดก็คือ การค่อยๆคิดไอเดียการแก้ปัญหาไปเรื่อยๆ จากข้อมูล สถานการณ์ และ สาเหตุของปัญหา อีกทั้งข้อมูลจากการสัมภาษณ์คนที่เกี่ยวข้องด้วย

แต่ถ้าใครก็ตามที่อาจจะไม่สามารถที่จะคิดแบบลอยๆ ได้อาจจะด้วยประสบการณ์ หรืออะไรก็แล้วแต่ สิ่งที่ในหนังสือชอบใช้มากก็คือ การใช้ Logic Tree มาช่วยในการคิดแนวทางอย่างเป็นระบบนั่นเอง

ตัวอย่างในกรณีนี้คือ ถ้าต้องการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายใน 6 เดือน โดยไม่ยืมตังค์ใครเลย จะทำอย่างไรได้บ้าง

ณ จุดนี้ เราก็จะค่อยๆ คลี่ความเป็นไปได้ ตาม Logic ของธุรกิจ เช่น ในการที่จะมีเงินเพิ่ม ก็จะมาจากการลดค่าใช้จ่าย หรือเพิ่มรายได้ ถัดมาเราก็จะมาดูในส่วนละส่วนว่า เราต้อง เข้าไปโฟกัสที่ใด ถ้าเป็นการเพิ่มรายได้ จะมาทางไหน ถ้าต้องลดรายจ่าย ต้องทำอย่างไร

จุดสำคัญคือ เราไม่ควรที่จะตัดทางเลือกออกไปโดยเร็ว โดยเฉพาะระหว่างการคิดไอเดียในการแก้ปัญหา เราจะไปจัดการตัวเลือกด้วยการจัดลำดับเงื่อนไข

การจัดเงื่อนไขเพื่อเลือกวิธีการแก้ปัญหา

เมื่อเราได้แนวทางที่จะแก้ปัญหาแล้ว ให้จัดการเอารายการต่างๆ มาจัดอยู่ในตารางและ ให้ข้อมูล Criteria ต่างๆ ให้เรียบร้อย เช่น

จากตารางข้างบน เมื่อเราใส่คะแนนในเงื่อนไขต่างๆ ที่เราใช้ในการเลือกแนวทางแล้ว เราก็ใส่คะแนนรวมเข้าไป ค่าที่ได้ก็จะเอามาเรียบลำดับปัญหาที่จะต้องแก้ไขต่อไป นอกจากนี้ก็ควรจะระบุตัวตน และช่องทางการเข้าถึงตลาดด้วย

ขณะที่ภาพนี้ก็ยังเป็นแนวทางการยืนยันตัวตนผ่านระบบ เหมือนเดิม สิ่งที่แตกต่างคือ การใส่แนวคิดเพิ่มเข้าไปใน Data Payload ด้วย

หลังจากที่ได้มาแล้ว และจัดลำดับความสำคัญเรียบร้อย

ก็จึงสามารถเริ่มแก้ปัญหาได้ ตามงานที่ถูกจัดเรียงเรียบร้อยแล้ว

อย่าลืม Follow Up

หลังจากที่เราเริ่มแก้ปัญหากัน สิ่งที่มักจะเป็นข้อผิดพลาดคือ การที่เราไม่ได้ Follow up การแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจทำให้การแก้ปัญหาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หรือเลวร้ายที่สุดคือไม่ได้แกัปัญหาเลย

ดังนั้นอย่าลืมที่จะ Follow up งานครับ

หวังว่าจะมีประโยชน์ในการแกัปัญหาครับ

ที่มา

  1. High Speed Problem Solving, เทระชิตะ คาโอรุ
  2. Systematic Problem Solving, วิฑูรย์ สูงกิจบูลย์
  3. Problem Solving 101, เค็น วาตานาเบะ

--

--

Teerayut Hiruntaraporn
Teerayut Hiruntaraporn

No responses yet