ให้ Feedback ยังไงดี

Teerayut Hiruntaraporn
1 min readApr 6, 2021

--

เรื่องนี้เป็นเรื่องต่อจากเมื่อวันก่อน ก็เป็นเรื่องที่ได้เรียนรู้มาจาก Interpersonal Dynamic ของคุณต้อง กวีวุฒิครับ

License ในการให้ Feedback

ในการที่จะให้ Feedback คนได้ จะต้องมีสิ่งสำคัญอยู่ 2 เรื่องคือ

  1. Trust เราน่าจะเคยเห็นเหตุการณ์ที่ คนๆหนึ่งได้รับ Feedback ประเด็นเดียวกัน จากหลายๆคน แต่เราก็จะฟังและเอากลับไปคิดกับคนที่เราเชื่อใจ มากกว่าคนอื่นๆ
  2. ทัศนคติ Feedback is a Gift — เรามองว่า Feedback คือของขวัญที่เราตั้งใจที่จะมอบให้กับผู้รับ​ ซึ่งในการที่เราจะมองของเป็นของขวัญนั้น จะมีลักษณะอยู่ว่า
    - แสดงความความตั้งใจของผู้ให้
    - แสดงความหวังดีของผู้ให้
    - ผู้รับรู้สึกขอบคุณ
    - ผู้รับไม่ต้องใช้มันก็ได้

ประเด็นสุดท้ายเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะ ผู้ให้ Feedback ไม่ได้รู้ Context ทุกอย่างที่ผู้รับเผชิญ ผู้รับรับสาร, พิจารณา และสามารถเลือกได้ว่าจะเอาไปใช้หรือไม่ใช้ได้

ถ้า Feedback ที่โดนบังคับให้ทำตาม ส่วนตัวคิดว่าสิ่งนั้นอาจจะเป็นคำสั่งมากกว่า และอาจจะสร้างปัญหาต่อไปได้

อย่างไรก็ตาม การใช้คำสั่งไม่ใช่อะไรที่ผิด ถ้าออกตัวอยู่แล้วว่า เป็นคำสั่งให้แก้ไข ตรงนี้จะต้องทำให้ชัดเจนด้วย

วิธีการให้ Feedback

ในการให้ feedback นั้นจะมีหลักอยู่ 2 เรื่องที่สำคัญ

  • ไม่พูดข้ามเส้น
  • ใช้กระบวนการในการให้ feedback

ในภาพจะแสดงให้เห็นว่า เมื่อคนๆหนึ่ง แสดงพฤติกรรมบางอย่างออกมา เรามีความเห็นต่อพฤติกรรมนั้นจึงทำการ feedback กลับไปหาคนๆ นั้น

พฤติกรรม จะเป็นสิ่งที่เราได้เห็น ได้ยิน ได้สังเกต และผู้รับสามารถรับรู้ตรงนี้ได้เช่นกัน ตัวพฤติกรรมจึงทำหน้าที่เป็นข้อเท็จจริง ซึ่งข้อเท็จจริงเป็นสิ่งที่โต้แย้งไม่ได้ เช่น ในกรณีตัวอย่างเดิม ถ้ามาที่ทำงาน 9:15 ขณะที่เวลาเข้างานเป็น 9:00 มันเป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ว่า เราเข้างานช้ากว่าเวลาที่ควรเข้า

ความรู้สึก เป็นความเห็นต่อพฤติกรรมในมุมมองของเรา คำแนะนำคือ ให้เป็นคำคุณศัพท์ไว้ เช่น รู้สึกแย่ รู้สึกประทับใจ อย่างในกรณีตัวอย่าง เราอาจจะรู้สึกผิดหวัง อันนี้ก็จะเป็นความรู้สึกหรือความเห็นของเรา

Feedback ทีนี้จาก พฤติกรรม กับความเห็นของเรา เราก็จะนำมารวมกัน เผื่อสร้าง Feedback กลับไป โดยคุณต้องได้ให้รูปแบบง่ายๆ มาหนึ่งรูปแบบคือ

When you do ‘X’, I feel ‘Y’, Maybe we can try “Z”

เช่น ในกรณีตัวอย่าง เราจะบอกว่า “จากที่เราเดินทางมาถึงออฟฟิศหลังเวลาเข้างานนี่ พี่รู้สึกผิดหวัง เราพอจะมาเช้ากว่านี้ได้ไหม”

สิ่งที่สำคัญมากคือ เราอาจจะมีการตึความอะไรบางอย่าง แล้วสรุปไปที่เบื้องลึกของบุคคลนั้นๆ ถ้าเราไปพูดในตัวตนของบุคคลมากกว่าพฤติกรรม นี่คือสิ่งที่เรียกว่า “การล้ำเส้น” ซึ่งไม่ควรทำ เช่น ถ้าถ้าพฤติกรรมคือมาสาย แต่เราไปสรุปว่าเขาขี้เกียจ แล้วไปบอกว่า ทำไมขี้เกียจอย่างนี้ จะเป็นการโจมตีทีตัวบุคคลทันที ก็เป็นสิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงครับ

การแก้ปัญหา

ทีนี้ในรูปแบบประโยคจะมีส่วนสุดท้ายอยู่ ตรงนี้คือการหาแนวทางการแก้ปัญหา ซึ่งก็แบ่งเป็น 2 แบบ

  1. simple issue — ถ้าเป็นกรณีที่ไม่ซับซ้อน เราสามารถแนะนำไปได้เลย
  2. complex issue — ถ้าเงื่อนไขซับซ้อน เราสามารถหาคำตอบร่วมกัน หรือ เข้าสู่ Coaching Session ก็สามารถทำได้

ก็หวังว่าจะได้ประโยชน์ครับ

--

--

Teerayut Hiruntaraporn
Teerayut Hiruntaraporn

No responses yet